Page 174 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 174
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(2) ภาษีก าไรจากการขายหลักทรัพย์
ภาษีก าไรจากการขายหลักทรัพย์หรือภาษีผลได้จากทุน (capital gain tax) เป็นภาษีที่มีแนวคิด
เพื่อลดการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งก าไร เนื่องด้วยที่ดินมีจ ากัดและที่ดินหลายแห่งมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเวลา
ผ่านไป หรือเมื่อมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นแรงจูงใจหลักให้คนซื้อที่ดินสะสมไว้
ขายต่อเมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่ได้คิดท าประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ท าให้ผู้มีรายได้สูงซื้อที่ดินสะสมโดยคาดหวัง
ถึงมูลค่าในอนาคต โดยทฤษฎีการต่อรองทางเศรษฐศาสตร์ได้ให้ค าอธิบายไว้ว่า ทรัพยากรจะถูกเปลี่ยนมือจาก
2
ผู้ที่ให้มูลค่าในทรัพยากรสูงกว่าผู้ที่ให้มูลค่าในทรัพยากรต่ ากว่า อาทิ การซื้อขายรถยนต์ (การเปลี่ยนการถือ
ครองรถยนต์) จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้ซื้อให้มูลค่ารถยนต์เป็นจ านวนเงิน 1 ล้านบาท ในขณะที่ผู้ขายให้มูลค่า
ในรถยนต์ต่ ากว่าเงิน 1 ล้านบาท ดังนั้น ทรัพยากรที่ดินเองจะถูกเปลี่ยนมือไปสู่ผู้ที่คาดหวังมูลค่าที่สูงกว่าและ
มีศักยภาพทางการเงินสูง ในขณะที่ผู้มีศักยภาพทางการเงินต่ าอาจพบข้อจ ากัดที่ท าให้ต้องยอมขายทรัพยากร
ในขณะนั้น ไม่สามารถรอให้มีมูลค่าเพิ่มได้ ท้ายที่สุดแล้วที่ดินซึ่งเป็นสินค้าขาดแคลนก็จะถูกเปลี่ยนมือออกไป
จากคนจน
ภาษีก าไรจากการขายหลักทรัพย์ จึงมีแนวคิดในการลดมูลค่าในอนาคตของที่ดิน โดยการก าหนดให้จ่าย
3
ภาษีส่วนต่างส าหรับมูลค่าที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อท าให้แรงจูงใจในการซื้อที่ดินเพื่อสะสมลดลง ลดการกว้าน
ซื้อที่ดินเพื่อเก็งก าไร เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการกระจุกตัวการถือครองที่ดินในหมู่ผู้มีรายได้มาก
มาตรการจัดสรรที่ดิน
เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีวิต ทั้งยังมีสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่สัมพันธ์อยู่กับสิทธิ
ในที่ดิน เช่น สิทธิในการเข้าถึงอาหาร สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงออกทาง
ศาสนาและพิธีกรรมทางจิตวิญญาณ เป็นต้น รัฐจึงมีหน้าที่รับประกันการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ดินส าหรับ
คนยากจนหรือกลุ่มเปราะบาง โดยที่ดินที่น ามาจัดสรรนั้นต้องมีทรัพยากรหรือสาธารณูปโภคที่เพียงพอ แต่มี
ศักยภาพต่ ากว่าที่ดินในระบบตลาดเพื่อป้องการแย่งชิง และมักมีการรอนสิทธิ จ ากัดการใช้ประโยชน์ หรือ
จ ากัดการเปลี่ยนมือ แนวคิดในการจัดสรรที่ดินในประเทศไทยปัจจุบันนั้น ได้แก่ ธนาคารที่ดิน
ธนาคารที่ดิน
ปัจจุบันแนวคิดธนาคารที่ดินในประเทศไทยมีสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 มีหน้าที่
ในการจัดท าและน าเสนอร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดิน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนในรายละเอียด
2 Robert Cooter and Thomas Ulen (2012) Law and Economics.
3 Harold M. Somers, "An Economic Analysis of the Capital Gains Tax", National Tax Journal, September 1948.
6-4 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย