Page 172 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 172
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาในบทที่ 4 พบว่าปัญหาทั้ง 5 ประการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็น
อุปสรรคต่อการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนบนฐานของสิทธิในทรัพยากร จึงต้อง
มีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและกฎหมาย รวมถึงการวางนโยบายและออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
และตอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ดังนี้
สภาพปัญหา การแก้ปัญหาและตอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในระบบตลาด มาตรการการกระจายการถือครองที่ดินที่เหมาะสม
2. การใช้ที่ดินของรัฐขาดความชัดเจน การก าหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานการใช้ที่ดินของรัฐ
3. การก าหนดนโยบายแบบรวมศูนย์อ านาจ โดยขาด การกระจายอ านาจโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อมูลและการมีส่วนร่วม
4. การยกเว้นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลด การกระจายภาระและผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบจากการใช้ที่ดิน
5. การใช้มาตรการทางอาญาในเรื่องการใช้ประโยชน์ มาตรการเพื่อความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาชน
ในที่ดิน
6.1 มาตรการการกระจายการถือครองที่ดินที่เหมาะสม
ดังที่ได้กล่าวมาในบทที่ 4 แล้วว่า การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินนั้น เกิดจากความเหลื่อมล้ าทาง
รายได้ น ามาซึ่งความเหลื่อมล้ าในการถือครองที่ดิน ส่งผลให้การเข้าถึงที่ดินในระบบตลาดน้อยลง ซึ่งความ
เหลื่อมล้ าในการเข้าถึงที่ดินนี้ไม่จ ากัดอยู่เฉพาะแต่คนในรุ่นเดียวกันเท่านั้น แต่ยังมีความเหลื่อมล้ าในการเข้าถึง
ที่ดินระหว่างคนต่างรุ่นด้วย เนื่องจากที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีจ ากัด ราคาและความต้องการในตลาด
จะสูงขึ้นเรื่อยๆ มีการกว้านซื้อเพื่อสะสมที่ดินเพื่อส่งต่อรุ่นสู่รุ่นเป็นหลักประกันความมั่นคง ดังนั้น การมี
มาตรการกระจายการถือครองที่ดินที่เหมาะสมจะช่วยผ่อนคลายความเหลื่อมล้ าในการเข้าถึงที่ดินในปัจจุบัน
และในอนาคต เป็นการตอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 1.3 ด าเนินการให้เกิดผลลัพธ์ตามระบบและมาตรการคุ้มครอง
ทางสังคมที่เหมาะสมของแต่ละประเทศ และให้
ครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง
เป้าหมายที่ 1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะ
ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากร
ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การ
เป็นเจ้าของและควบคุมเหนือที่ดินและอสังหาในรูปแบบ
อื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม
และบริการทางการเงินซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับ
ฐานราก (microfinance)
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคง เป้าหมายที่ 2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหาร
ทางอาหารและยกระดับโภชนาการ รายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกรแบบ
และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น
2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรและปัจจัย
6-2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย