Page 176 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 176
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
4) ที่ดินที่น ามาใช้ในกิจการของธนาคาร ได้แก่ ที่ดินเอกชนและที่ดินของรัฐ ซึ่งรวมถึงสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดิน ที่ราชพัสดุ ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินในเขต
ป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าเสื่อมโทรม และที่ดินของรัฐประเภทอื่นตามกฎหมายเฉพาะ
แนวคิดธนาคารที่ดินเป็นความพยายามในการจัดการปัญหาที่ดินชุมชนทับซ้อนกับที่ดินของรัฐ ที่ดิน
หลุดมือคนจนและเกษตรกร ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เต็มที่ รวมถึงปัญหาการบุกรุกท าลายป่า ซึ่งถือเป็น
กลไกให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและท ากินมากขึ้น แต่ยังมีข้อพิจารณา
ว่าด้วยกลไกการด าเนินงานของธนาคารที่ดิน อาจท าในรูปแบบของการให้ทุนสนับสนุนธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารอื่นได้เช่นกัน
การลดความเหลื่อมล า
ปัญหาการกระจุกตัวในการถือครองที่ดิน มีความสัมพันธ์กับการกระจุกตัวของการถือครองทรัพย์สิน
5
และความเหลื่อมล้ าทางรายได้ ผู้มีรายได้สูงย่อมน าเงินไปซื้อทรัพย์สินอื่นเพื่อสะสมเก็งก าไร โดยเฉพาะที่ดิน
ที่เป็นสินค้าขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าอย่างไรที่ดินก็จะหลุดจากผู้มีรายได้น้อย ตามทฤษฎีการ
ต่อรองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น การมีมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ าในการถือครองทรัพย์สินและความ
เหลื่อมล้ าทางรายได้ย่อมส่งผลต่อการกระจายการถือครองที่ดินได้ในอีกทางหนึ่ง
การลดความเหลื่อมล้ าทางรายได้ในประเทศไทยนั้น กลไกในการก ากับการท าธุรกิจใหญ่ โดยเฉพาะ
กฎหมายควบคุมการแข่งขันทางการค้ามีส่วนส าคัญอย่างมาก เพื่อก ากับไม่ให้ธุรกิจผูกขาดหรือตกลงกันเพื่อ
จ ากัดการแข่งขัน ป้องกันการที่ตลาดจะมีธุรกิจใหญ่น้อยรายจนมีอ านาจเหนือผู้ผลิตรายอื่นๆ ซึ่งท าให้ธุรกิจ
เหล่านั้นมีอิทธิพลทางการเมืองในการก าหนดนโยบายที่คงความได้เปรียบทางธุรกิจ น ามาซึ่งความเหลื่อมล้ า
ทางรายได้ที่สูง การสนับสนุนกฎหมายแข่งขันทางการค้าที่เข้มแข็งจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน
6
ในตลาด ลดความเหลื่อมล้ าทางรายได้ การครอบง าการก าหนดนโยบาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการกระจุกตัวของ
ทรัพย์สินและที่ดินในอีกทางหนึ่งเช่นกัน
นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ าในการถือครองที่ดินไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างคนในรุ่นเดียวกันหรือคนรวยคนจน
เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับคนรุ่นก่อนและคนในรุ่นปัจจุบัน จากข้อมูลพบว่าในรอบ 30 ปี (พ.ศ. 2528 - 2558)
7
ราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพิ่มขึ้นถึง 47 เท่า อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่ออนาคตชน
อีกด้วย เนื่องจากราคาที่ดินยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและที่ดินที่อยู่ใกล้สาธารณูปโภคมีผู้ถือครองไว้แล้ว
5 ดวงมณี เลาวกุล. (2556). การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในสังคมไทย.
6 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2558). “ความเหลื่อมล้ าในสังคมไทย: แนวโน้ม นโยบาย และแนวทางขับเคลื่อน
นโยบาย”.
7 มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย. (2559). การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินและที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล.
6-6 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย