Page 168 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 168

บทที่ 5
                                                                    แนวทางในการรับรองการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน


                       จากตารางข้างต้น เมื่อน าสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินความมั่นคงในการ

               ถือครอง ทั้ง 3 ประเด็นคือ (1) ระยะเวลา (2) การรองรับกติกาชุมชน และ (3) สถานะทางกฎหมาย ภายใต้
               สมมติฐานว่าการไม่จ ากัดระยะเวลาในการถือครองเป็นการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในที่ดินสูงที่สุด ในขณะที่

               การจ ากัดเวลาระยะสั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ต่ า และการรองรับกติกาชุมชนย่อมเป็นการยอมรับวิถีชีวิตและ

               วัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการมีสถานะทางกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติย่อมเป็น
               การรับประกันหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในการรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังตาราง

               ด้านล่าง


                     สิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน     ระยะเวลา         การรองรับ       สถานะทางกฎหมาย
                                                                      กติกาชุมชน
                1.  สิทธิท ากิน (สทก.)                5 – 10 ปี                          ใบอนุญาต
                                                                                        หนังสืออนุญาต
                2.  ที่ดินแปลงรวม                     5 – 30 ปี                          สัญญาเช่า
                                                                                        หนังสืออนุญาต
                3.  โครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และ     20 ปี                           พระราชบัญญัติ
                   ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภายใน                                  (ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา)
                   อุทยานแห่งชาติ โดยมิได้สิทธิในที่ดิน
                4.  โครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแล  20 ปี                          พระราชบัญญัติ
                   รักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขต                                    (ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา)
                   รักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่า
                   สัตว์ป่า โดยมิได้สิทธิในที่ดิน
                5.  แผนจัดการป่าชุมชน            5 ปี (ในการอนุมัติแผน)                พระราชบัญญัติ
                6.  โฉนดชุมชน                     ไม่มีก าหนดระยะเวลา              ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี
                7.  ข้อบัญญัติท้องถิ่น            ไม่มีก าหนดระยะเวลา                 กฎหมายล าดับรอง
                8.  เขตหวงห้ามซึ่งมิใช่ที่ราชพัสดุ   ไม่มีสิทธิถือครอง            การอนุโลมอย่างไม่เป็นทางการ
                9.  ที่ราชพัสดุ                    ไม่มีสิทธิถือครอง              การอนุโลมอย่างไม่เป็นทางการ

                       ดังนั้น ในการรับรองการให้สิทธิในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของบุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชนในพื้นที่

               ต่างๆ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการกระทบจากกฎหมายและนโยบายมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                       (1) ปรับปรุงการให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในเขตที่ดินของรัฐ โดยมุ่งเน้นการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

                          ในที่ดิน ความมั่นคงในการถือครองที่ดิน และการรองรับกติกา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน

                          โดยรัฐ ดังนี้
                          −  แผนจัดการป่าชุมชน ตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 มีการรับรองแผนการจัดการ

                              ทรัพยากรซึ่งชุมชนเป็นผู้คิดขึ้น มีสถานะทางกฎหมายและได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน
                              ที่เกี่ยวข้อง แต่การก าหนดอายุแผนเป็นระยะเวลา 5 ปี แล้วมีการอนุมัติใหม่นั้นเป็นระยะเวลา

                              ที่สั้นเกินไป ระยะเวลา 5 ปีจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมมากขึ้นหากเป็นระยะเวลา 5 ปี
                              ส าหรับติดตามตรวจสอบและปรับปรุงแผน  นอกจากนี้ ควรพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย





               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย                                                      5-17
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173