Page 133 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 133
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ควำมไม่ต่อเนื่องของนโยบำยในกำรแก้ไขปัญหำ
แนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทยต่อกรณีของการประกาศเขตอนุรักษ์ทับที่ดินที่ประชาชน
ครอบครองใช้ท าประโยชน์อยู่นั้นมักจะกระท าในรูปของมติคณะรัฐมนตรีหรือมติคณะกรรมการ ซึ่งนโยบาย
ดังกล่าวจะได้รับการปฏิบัติตามหรือไม่ ขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจ เพราะไม่มี
สถานะทางกฎหมายผูกพันเจ้าหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติตาม ในทางตรงกันข้ามมาตรการผ่อนผันในบางเรื่องอาจเป็น
การขัดกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 เนื่องจากละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเหตุที่ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายดังกล่าว ท าให้สิทธิของ
ประชาชนไม่มีความแน่นอน
องค์กรของรัฐไม่ได้ค ำนึงถึงสิทธิที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
แม้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจะได้รับรองสิทธิในการรวมตัวอยู่เป็นชุมชน ซึ่งในบางชุมชนรัฐได้เข้ามา
รับรองสถานะเป็นหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ก็ตาม แต่จากกรณีศึกษาต่างๆ ข้างต้น
พบว่า ในทางปฏิบัติประชาชนไม่สามารถอ้างสิทธิชุมชนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นฐานในการอ้างกับองค์กรของรัฐได้
ในขณะเดียวกันภาครัฐก็ไม่ได้ค านึงถึงสิทธิที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยพิจารณาจากค าพิพากษาของศาล
ปกครองสูงสุดและศาลฎีกา ไม่ได้มีการยกประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนขึ้นอาศัยเป็นเหตุในการอธิบายว่าประชาชน
มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินดังกล่าวแม้จะได้ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์แล้ว ค าพิพากษาส่วนใหญ่ให้น้ าหนักไปที่การ
พิสูจน์สิทธิตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งยึดโยงอยู่กับการใช้เอกสารสิทธิของทางราชการมากกว่า
ที่จะค านึงว่าพื้นที่ดังกล่าวที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เพราะโดยสภาพไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ
เหตุประการหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐและองค์กรศาลไม่ได้น าบทบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญ
มาเป็นมาตรในการวินิจฉัยว่า การกระท าของรัฐขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ น่าจะมีสาเหตุมาจาก
33
32
แนวค าพิพากษาของศาลฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้เคยมีการวินิจฉัยไว้ก่อนหน้านี้สามารถสรุปได้ว่า
ตราบใดที่ยังไม่มีการตรากฎหมายออกมารองรับสิทธิของบุคคล สิทธิดังกล่าวจะมีเงื่อนไขอย่างไร และจะมี
34
วิธีการด าเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจรู้ได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ
32 ค าพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8022/2543
33 ค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 25/2547
34 อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ก าหนดรับรองให้สิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ แม้ยังไม่ได้มีการตรากฎหมายขึ้นใช้
บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อพิจารณาเทียบกับค าวินิจฉัย
ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2552 วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) มีเจตนารมณ์ให้สิทธิและเสรีภาพ
ที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้มีสภาพบังคับได้ทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศให้มีผลใช้บังคับโดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายอนุวัติ
การมาใช้บังคับก่อน บุคคลหรือชุมชนย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากแนวค าวินิจฉัยฉบับนี้หน่วยงานของ
รัฐจึงควรจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และประชาชนสามารถฟ้องร้องบังคับได้ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าในทางปฏิบัติ
ศาลไม่ได้หยิบบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาในฐานะที่เป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายอย่างหนึ่ง
3-22 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย