Page 80 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2561
P. 80

บทที่ ๓ การประเมินสถานการณ์


                     ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม







                     การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ (benchmark)
                     หรือตัวชี้วัดท่ี่แสดงลักษณะความก้าวหน้าหรือถดถอยของสิทธิที่บัญญัติไว้ในกติกา ICESCR เป็นส�าคัญ สิทธิใน
                     กติกาดังกล่าวเป็นสิทธิเชิงบวก (positive rights) ซึ่งรัฐพึงด�าเนินการให้เกิดขึ้น ให้มีความเป็นจริง และท�าให้
                     ก้าวหน้าตามระยะเวลา หรือแผนงานที่ชัดเจน แม้ว่าจะเป็นการด�าเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้ทรัพยากร

                     และความพร้อมต่าง ๆ ที่มีอยู่ (progressive realization of rights) โดยหลักฐานที่ใช้ในการประเมินสถานการณ์
                     ด้านนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ (๑) ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐในเชิงการสร้างระบบหรือโครงสร้าง
                     เพื่อรองรับสิทธิ อาทิ การก�าหนดเป้าหมาย/แผนงานท่ี่ชัดเจนเป็นรูปธรรม พร้อมการจัดสรรทรัพยากร และบุคลากร
                     ผู้ปฏิบัติงานสนับสนุน รวมถึงกลไกที่เกี่ยวข้อง (๒) การจัดท�ากระบวนการเพื่อให้เกิดผลจากระบบที่ก�าหนด อาทิ

                     การจัดการ/เตรียมความพร้อม หรือการติดตามบังคับใช้กฎหมายและอื่น ๆ และ (๓) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
                     และการปรับปรุงต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือบริบท ณ เวลานั้น ๆ โดยทั้งหมดนี้จะต้องแสดงให้เห็นถึง
                     ความก้าวหน้าหรือความส�าเร็จตามระยะเวลาที่ก�าหนด มีการติดตามอย่างเป็นระบบ และจะต้องไม่มีลักษณะ
                     ของการเลือกปฏิบัติใด ๆ ตามที่ก�าหนดในกติกาฯ ลักษณะของสิทธิในด้านนี้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

                     แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ในหมวด ๓ หมวด ๕ และหมวด ๖ เป็นส�าคัญ


                     ในปี ๒๕๖๑ กสม. ประมวลภาพรวมประเมินสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค พร้อมมีข้อเสนอแนะด้านสิทธิ
                     ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ใน ๓ ประเด็น ดังนี้
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85