Page 82 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 82
(๖) สิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในสาธารณะอิสลาม
ในยุคแรกๆ ส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้าไปมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะเกี่ยวกับกิจกรรม
ทางการเมืองและกิจกรรมของสังคมโดยส่วนรวม สตรีที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในบทบาทสาธารณะ ได้แก่ ท่านหญิงอัยชะอ์
และอุมม์ ซะละมะฮ์ ในบทความของ ยศวดี บุณยเกียรติ และวัลลภา นีละไพจิตร กล่าวว่า “สตรีในประวัติศาสตร์
อิสลามได้เคยแสดงความเห็นในเรื่องของกฎหมาย ประโยชน์สาธารณะ และเป็นฝ่ายขัดแย้งกับ คอลีฟะฮ์ (ผู้ปกครอง
มุสลิม) จนกระทั่งคอลีฟะฮ์ ต้องยอมรับข้อโต้แย้งของพวกเธอเหล่านั้น” ดังเช่นที่บันทึกไว้ในสมัยของคอลีฟะฮ์ อุมัร
อิบนิ ค็อตต๊อบ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของสตรีมุสลิมอาจจะมาจากการมีส่วนร่วมในสังคมนับตั้งแต่สมัยต้นๆ
ที่ยังมีการท�าสงครามกันอย่างกว้างขวาง ผู้หญิงมุสลิมเข้าร่วมในกองทัพในฐานะพยาบาลรักษาผู้บาดเจ็บตระเตรียม
เสบียงและรับใช้นักรบ เมื่อพูดถึง “การออกเสียง” อาจจะท�าให้นึกไปถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่บุคคล
มีสิทธิในการออกเสียงเลือกผู้แทนราษฎรให้ไปท�าหน้าที่ในสภา ในกรณีนี้ประเทศมุสลิมจ�านวนมากให้สิทธิแก่ผู้หญิง
ในการออกเสียงลงคะแนนเช่นเดียวกับชาย จะมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ก�าหนดว่าสตรีที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
จะต้องมีการศึกษาถึงระดับที่ก�าหนดหรือก�าหนดระยะเวลาในอนาคตที่จะให้สิทธิแก่สตรีในการออกเสียงเลือกตั้ง
แต่นักวิชาการศาสนาหลายคนกล่าวว่า อิสลามให้สิทธิในการออกเสียงแก่สตรี ทั้งนี้เพราะทั้งในอัล-กุรอ่านและซุนนะฮ์
ไม่เคยห้ามไม่ให้สตรีออกเสียงแสดงความคิดเห็นเลย
(๗) สิทธิที่จะได้รับความเคารพ
ในทัศนะอิสลาม จะต้องปฏิบัติต่อผู้หญิงด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และการให้เกียรติ ท่านนบี (ซ.ล.)
กล่าวไว้ว่า หากผู้ชายมีการปฏิบัติต่อสตรีเป็นอย่างดียิ่งเท่าไหร่ ไม่ว่าต่อผู้เป็นภรรยา ลูกสาว พี่-น้องสาว พวกเขาก็
จะยิ่งเป็นผู้มีความศรัทธามากยิ่งขึ้น
ในคุตบะฮ์ (เทศนา) อ�าลาของท่านนบี (ซ.ล.) ได้เตือนพวกเราถึงภาระหน้าที่ การให้เอาใจใส่และให้เกียรติ
ต่อผู้หญิง ท่านได้กล่าวไว้ว่า “จงย�าเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง แท้ที่จริงแล้วพวกท่านแต่งงานกับ
พวกเธอด้วยความไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้า และร่างกายของพวกเธอเป็นที่ชอบด้วยค�าพูดแห่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น
พวกท่านจึงมีสิทธิเหนือตัวนาง และพวกนางก็มีสิทธิเหนือตัวพวกท่านเช่นเดียวกัน”
ดังนั้น ผู้หญิงในทัศนะอิสลามจึงเป็นผู้ที่มีเกียรติศักดิ์ศรี มีความอิสระเป็นของตัวเอง ได้รับการคุ้มครอง
โดยกฎหมาย เป็นพลเมืองที่มีเสรีภาพ เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคนที่
มีความสามารถ มีหัวใจ มีจิตวิญญาณ และมีสติปัญญาเช่นเดียวกับผู้ชาย และมีสิทธิพื้นฐานที่จะแสดงความสามารถ
ในกิจกรรมด้านต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย
อิสลามกับความรุนแรงในครอบครัว
ถึงแม้จะได้กล่าวถึงหลักการเชิงบวกของอิสลามข้างต้นในการให้สิทธิต่อผู้หญิงและการมีความเสมอภาคระหว่าง
เพศ แต่ในสภาพความเป็นจริงของสังคม (ทั้งสังคมมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม) การกดขี่ท�าร้ายผู้หญิงยังคงด�าเนินไป
ในปัจจุบัน และมีการตั้งค�าถามต่อสังคมมุสลิมว่าเป็นสังคมที่ “อิสลามอนุญาตให้ผู้ชายมุสลิม (สามี) สามารถเฆี่ยนตี
ภรรยาได้ใช่หรือไม่?”
ก่อนจะตอบค�าถามข้างต้น ประเด็นผู้หญิง (ภรรยา) ถูกท�าร้ายโดยผู้ชาย (สามี) นั้น นับเป็นปัญหาใหญ่
ในแทบทุกสังคม เช่น
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 71