Page 79 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 79

ภาคผนวก ๑

                     หลักกำรเชิงบวกของศำสนำอิสลำมต่อผู้หญิงมุสลิมและควำมเสมอภำคระหว่ำงเพศ           ๑



                                                                                                           ๒
                                                                                   ผศ. ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี


                                                         บทน�า



                     อิสลามเป็นศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้าประทานลงมายังโลกนี้เพื่อสร้างดุลยภาพและความสันติสุขให้กับสังคม
                                                                                                     ๓
              มนุษย์ อิสลามได้ถูกประทานลงมาในสังคมอาหรับที่มีสภาพป่าเถื่อนโหดร้าย โดยท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.)  ได้เผย
              แพร่ค�าสอนอิสลามและท�าตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามจนแปรสภาพสังคมอาหรับอันป่าเถื่อนกลายเป็นสังคมแห่งความรู้

              และมีอารยธรรมอันดีงามโดยใช้ระยะเวลาเพียง ๒๓ ปี
                     ประเด็นเรื่องสิทธิและความเสมอภาคทางเพศนับเป็นเรื่องส�าคัญเรื่องหนึ่งที่ศาสนาอิสลามได้วางแนวทาง

              ไว้อย่างสมบูรณ์เพื่อท�าการแปรเปลี่ยนและยกระดับสถานภาพของผู้หญิงให้สูงส่งทัดเทียมผู้ชาย บทความนี้ต้องการ
              น�าเสนอว่าในค�าสอนของศาสนาอิสลามนั้น ได้ให้หลักการเชิงบวกที่ให้สิทธิต่อผู้หญิงและความเสมอภาคระหว่างเพศ
              เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่แตกต่างไปจากยุคก่อนอิสลามอย่างถอนรากถอนโคนภายในระยะ

              เวลาอันสั้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าหดหู่ใจว่ายังคงมีสังคมมุสลิมที่บิดเบือนและไม่เข้าใจเป้าหมายของอิสลามดังกล่าว
              ซึ่งอาจเป็นไปโดยเจตนาหรือโดยความไม่รู้ก็ตาม ท�าให้ผู้หญิงมุสลิมไม่สามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าว และที่ส�าคัญมี

              ผู้หญิงมุสลิมจ�านวนไม่น้อยที่ถูกท�าร้ายในครอบครัวโดยการอ้างหลักการของศาสนา ดังนั้น การท�าความเข้าใจใน
              หลักการค�าสอนของศาสนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศจึงนับเป็นเงื่อนไขส�าคัญประการหนึ่งในการช่วยปกป้อง
              สิทธิ์ของผู้หญิงที่จะไม่ถูกละเมิด และสามารถอยู่ร่วมกับผู้ชายได้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรีในสังคม



              สิทธิและบทบาทของสตรีในอิสลาม


                     การจะท�าความเข้าใจหลักการของศาสนาอิสลามต่อประเด็นเรื่องผู้หญิงนั้น เราต้องเข้าใจภาพของสังคม

              อาหรับในยุคก่อนอิสลาม ซึ่งเป็นสภาพป่าเถื่อนที่มองผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศและปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างไร้
              ความเมตตาดังที่ อัล-กุรอ่านได้บรรยายสภาพไว้ว่า
                     “และเมื่อผู้ใดในหมู่พวกเขาได้รับข่าวว่าได้ลูกผู้หญิง ใบหน้าของเขากลายเป็นหมองคล�้าและเศร้าสลด

              เขาจะซ่อนตัวเองจากกลุ่มชนเนื่องจากความอับอายที่ได้ถูกแจ้งแก่เขา เขาจะเก็บเอาไว้ด้วยความอัปยศหรือฝัง
              มันในดิน พึงรู้เถิดสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจนั้นมันชั่วแท้ๆ” (อัล-กุรอ่าน ๑๖: ๕๘-๕๙)


                     อิสลามได้ค่อยๆ มาเปลี่ยนมุมมองต่อผู้หญิงและยกระดับพวกเธอให้สูงขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่การสั่งห้ามการฆ่า
              ทารกผู้หญิง ดังโองการพระผู้เป็นเจ้าว่า




              ๑  เอกสารประกอบโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิม รุ่นหนึ่ง วันจันทร์ที่ ๒๒ ถึงวันอังคารที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ และ รุ่นสอง
                วันพุธที่ ๓๔ ถึง วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
              ๒  สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ-มหาวิทยาลัยพายัพ, กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะท�างานจุฬาราชมนตรี
              ๓  ซ.ล. อักษรย่อส�าหรับค�าสดุดีที่ใช้กล่าวหรือเขียนหลังการกล่าวนามของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) มีความหมายว่า “ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์และความสันติจงมีแด่ท่าน”
                ย่อมาจาก “ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม”


                68     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84