Page 37 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 37
๒) การจัดท�ารายงานคู่ขนานผลการด�าเนินงานของประเทศไทยเสนอต่อกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่จัดท�ารายงานคู่ขนานตามอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ประเทศไทยเป็นภาคีเพื่อเสนอคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่างๆ นั้น นับเป็นกลไกส�าคัญหนึ่งในการติดตาม
ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค ข้อท้าทาย รวมถึงการมีข้อเสนอแนะในการด�าเนินการตามภาระผูกพันของประเทศไทย
ในฐานะรัฐภาคี เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
การจัดท�ารายงาน ดังต่อไปนี้
๒.๑) รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีต่อ CEDAW
การที่ประเทศไทยเป็นภาคี CEDAW กสม. มีภารกิจต้องจัดท�ารายงานคู่ขนานตามอนุสัญญานี้เสนอ
ต่อคณะกรรมการ CEDAW เช่นเดียวกับอนุสัญญา หรือกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ซึ่งในโอกาส
ที่ประเทศไทยต้องไปรายงานความคืบหน้าต่อหน้าคณะกรรมการ CEDAW ถึงในการด�าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ของประเทศไทยตามรายงานฉบับที่ ๖ และ ๗ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กสม.ได้จัดท�ารายงานสถานการณ์
ประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ CEDAW ตามข้อมูลที่ กสม.
๒๑
ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการพิจารณาการด�าเนินงานของประเทศไทย ในส่วน
๒๒
ของภาคประชาสังคม มูลนิธิผู้หญิงและคณะท�างานปาตานีเพื่อการเฝ้าระวังต่อกลไกระหว่างประเทศ (PATANI
Working Group for Monitoring of International Mechanisms) ได้จัดท�ารายงานที่มีประเด็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมด้วย และมีผู้แทนเข้าร่วมในวาระที่คณะกรรมการ CEDAW จัดให้ภาคประชาสังคมเข้า
พบและน�าเสนอประเด็นปัญหาและข้อห่วงใยด้วยวาจา
ผลจากพิจารณารายงานของประเทศไทย คณะกรรมการ CEDAW ได้แสดงความห่วงใยต่อ
ประเทศไทยในหลายประเด็น โดยมีสรุปข้อสังเกต (Concluding Observations) พร้อมข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย
๒๓
เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงมุสลิม เช่น แก้ไขกฎหมายไม่ให้มีข้อยกเว้นในการห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วย
เหตุผลตามหลักศาสนา ขจัดภาพเหมารวมและเจตคติที่ชายเป็นใหญ่ในหญิงและชาย รวมทั้งผู้น�าทางศาสนา เอาผิด
ทางอาญากับการขริบอวัยวะเพศและรณรงค์ถึงผลกระทบต่อหญิงและเด็กจากการปฏิบัตินั้น พัฒนามาตรการพิเศษ
ชั่วคราวเพื่อสร้างหลักประกันว่าผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีความเสมอภาคเชิงเนื้อหาเช่นเดียวกับผู้ชาย
ในทุกด้าน รวมถึงการจัดให้มีความช่วยเหลือทางสังคมและทางการเงินที่พอเพียง คุ้มครองหญิงและเด็กที่ไม่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ สร้างหลักประกันว่าหญิงที่สามีหรือสมาชิกครอบครัว
ต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงความยุติธรรม ให้ผู้หญิงมี
ส่วนร่วมและการตัดสินใจอย่างเต็มที่ในกระบวนการฟื้นฟูทุกขั้นตอนหลังความขัดแย้ง สร้างหลักประกันในการบริการ
สุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์อย่างทั่วถึงและสิทธิที่จะตัดสินใจรับบริการนั้นอย่างอิสระ ได้รับรู้ล่วงหน้า
สร้างหลักประกันว่าการมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งต้องห้าม
๒๑ http://tbinternet.ohchr.org/Treaties/CEDAW/Shared%20Documents/THA/INT_CEDAW_IFN_THA_27198_E.pdf
๒๒ http://tbinternet.ohchr.org/Treaties/CEDAW/Shared%20Documents/THA/INT_CEDAW_NGO_THA_27699_E.pdf
๒๓ http://tbinternet.ohchr.org/_layouts/treatybodyexternal/Download.aspx?symbolno=CEDAW%2fC%2fTHA%2fCO%2f6-7&Lang=en
26 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้