Page 33 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 33

ข้อมตินี้ระบุการคุ้มครองผู้หญิงในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทั่วโลก เนื่องจากพบว่า ในสถานการณ์ความขัดแย้ง
              ทั่วโลกจะมีการใช้เพศเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารต่อสู้ เช่น การข่มขืนผู้หญิงในสงคราม ความรุนแรง

              ในครอบครัว เป็นต้น กรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มีผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามเป็นคู่กระท�า แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
              อาจเป็นผลจากการละเลยในการป้องกันหรือระงับเหตุเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง UNSCR ๑๓๒๕ ไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะ
              ผู้หญิงในการสร้างสันติภาพ แต่ยังเน้นย�้าถึงการแสวงหาหลักประกันในการคุ้มครองผู้หญิงจากการล่วงละเมิดทางเพศ

              และความรุนแรง การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการตัดสินใจ การปกป้องให้ผู้หญิงปลอดภัย การฟื้นฟูเยียวยาและ
              ให้หลักประกันผู้หญิงที่จะไม่ถูกบังคับ เนื่องจากในประเทศที่มีความขัดแย้งและเกิดการเสียชีวิตของคนจ�านวนมาก

              ผู้หญิงหลายคนถูกบังคับให้แต่งงานเพื่อตั้งครรภ์และมีลูกจ�านวนมาก รวมทั้งในบางประเทศซึ่งผู้หญิงถูกข่มขืนก็อาจ
              ถูกบังคับให้ท�าแท้ง เป็นต้น ข้อมตินี้จึงมีความส�าคัญต่อสิทธิในชีวิตและเนื้อตัวของผู้หญิงซึ่งผู้หญิงต้องมีส่วนร่วม
              ในการตัดสินใจด้วย รวมทั้งสิทธิในการได้รับการฟื้นฟูผู้หญิง การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงโดยให้มีกฎหมาย

              เพื่อสร้างหลักประกันแก่ผู้หญิง
                       UNSCR ๑๓๒๕ ยังระบุถึงสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากในพื้นที่ที่มีภัยพิบัติบางครั้งอาจเป็นผล

              ให้มีการสูญเสียที่ดินทั้งผืน ในขณะที่พื้นที่ที่มีความขัดแย้งอาจมีการสร้างความหวาดกลัว และผู้หญิงหลายคนอาจ
              สูญเสียหัวหน้าครอบครัวหรือผู้หญิงหลายคนอาจกลายเป็นผู้อพยพโยกย้ายถิ่นและอาจส่งผลให้สูญเสียทรัพย์สินหรือ
              การครอบครองที่ดินไป ซึ่งข้อมตินี้จะพยายามมองทุกอย่างเป็นองค์รวมและมีหลักประกันให้ผู้หญิงสามารถกลับมา

              ถือครองทรัพย์สินในภายหลังเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และยังให้การคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และ
              อนามัยแม่และเด็ก

                       ส�าหรับประเด็นการป้องกันนั้น UNSCR ๑๓๒๕ ได้ให้ความส�าคัญกับความยุติธรรมและการฟื้นฟูเยียวยา
              รวมถึงความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน อีกทั้งได้ให้ความส�าคัญกับการปฏิรูปความมั่นคงทั้งการปฏิรูปต�ารวจหรือ
              การปฏิรูปทหาร โดยเฉพาะในมิติที่เกี่ยวกับเพศสภาพซึ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงจ�าเป็นต้องทราบ และการสร้าง

              ระบบเตือนเนื่องจากความขัดแย้งท�าให้เกิดความอ่อนไหวทางเพศสภาพ ดังเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ที่มี
              ความขัดแย้ง กรณีประเทศไทยเช่น เหตุการณ์ชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งมีการน�าประเด็นทางเพศสภาพขึ้น

              มาเพื่อโจมตีผู้น�าหญิง เพราะฉะนั้นในทุกพื้นที่ของการขัดแย้งจึงสามารถน�าข้อมตินี้มาใช้เพื่อปกป้องผู้หญิงจากการ
              ใช้เพศเป็นเครื่องมือในการท�าลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงได้
                       ส่วนประเด็นการมีส่วนร่วมและการเป็นตัวแทนของผู้หญิงในการรักษาสันติภาพทั้งในรูปแบบของ

              เจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือน UNSCR ๑๓๒๕ ได้เน้นให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปความมั่นคงและมีส่วนร่วม
              ในการบวนการเลือกตั้ง

                       UNSCR ๑๓๒๕ ยังกล่าวถึงการฟื้นฟูและการกลับคืนดังเดิม (Restitution) ซึ่งมีความส�าคัญมาก เนื่องจาก
              เป็นหลักประกันว่าผู้หญิงทุกคนจะได้รับฟื้นฟูและการทดแทนในสิ่งที่ตนเองสูญเสียไปกลับคืนมา อีกทั้งยังกล่าว
              ถึงการเข้าถึงความยุติธรรมหลังความขัดแย้ง ซึ่งต้องสร้างให้เกิดความรับผิดชอบทางอาญาและสร้างหลักประกัน

              ความเป็นอิสระของระบบตุลาการ การรักษาเอกสารพยานหลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับอาชญากรรมเพื่อป้องกัน
              การแก้แค้น ดังเช่น เหตุการณ์ความขัดแย้งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาซึ่งพบผู้หญิงจ�านวนมากที่ถูกข่มขืนและอาจถูก

              ท�าให้เสียชีวิตด้วย แต่ภายหลังความขัดแย้งแล้วได้มีการบันทึกข้อมูลไว้เป็นประวัติศาสตร์ด้วย











                22     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38