Page 34 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 34
๓.๒ องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation-OIC) ๒๐
OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของชาติมุสลิม จัดตั้งขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกและ
สร้างความเป็นเอกภาพในกลุ่มประเทศมุสลิม มีสมาชิก ๕๗ ประเทศ ที่มีประชากรรวมกันเกินกว่า ๑.๒ พันล้านคน
จากตะวันออกกลาง อัฟริกา เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ อเมริกาใต้ ส�าหรับประเทศไทยมีสถานะ
เป็นผู้สังเกตการณ์การประชุม (Observer) ของ OIC
OIC เป็นตัวอย่างส�าคัญของการเชื่อมโยงมาตรฐานสากลเข้ากับหลักการทางศาสนาอย่างสร้างสรรค์ในการ
ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง โดย OIC มีการประชุมรัฐมนตรีกิจการผู้หญิงของประเทศสมาชิกองค์การ
ความร่วมมืออิสลาม ในทุก ๒ ปี เพื่อเป็นกลไกส�าคัญในการส่งเสริมบทบาทและสิทธิสตรีในการพัฒนา การประชุม
หารือครั้งแรกมีขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ องค์การความร่วมมือ
อิสลามได้มีการประชุมรัฐมนตรีผู้หญิงที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน โดยให้ความเห็นชอบร่วมกันในแผนปฏิบัติการ
เพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง โดยก�าหนดกลไกในการด�าเนินงาน รวมทั้งมีการประกาศปฏิญญาเตหะราน เรื่อง
“ผู้หญิง ครอบครัว และเศรษฐกิจ” (Women, Family and Economy) และต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๘๕๕
(ค.ศ. ๒๐๑๒) ได้มีการประชุมในหัวข้อ “การเสริมพลังการมีส่วนร่วมของผู้หญิง และบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม” (Strengthening Women’s Participation and Roles
in Economic Development in OIC Member States) โดยมีสาระส�าคัญในปฏิญญาทั้งสองฉบับ ดังนี้
๑) ให้ความส�าคัญเรื่องเพศสภาพ ในฐานะที่เป็นกุญแจส�าคัญที่น�าไปสู่ความเสมอภาคระหว่างเพศความ
ยุติธรรมระหว่างเพศ และการเสริมพลังการท�างานให้แก่ผู้หญิงในทุกมิติ
๒) เน้นย�้าว่าการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ ทั้งที่บ้าน ที่ท�างาน หรือที่ใดๆ ในสังคม ถือเป็น
การละเมิดสิทธิตามค�าประกาศสิทธิมนุษยชนแห่งอิสลาม ดังนั้น จึงต้องเน้นการให้ความเคารพในเกียรติ ศักดิ์ศรีของ
ผู้หญิงและปกป้องความรุนแรงทั้งทางกายและทางจิตใจ
๓) จัดท�าแนวทางการตรวจสอบการเข้าถึงความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยออกกฎ และระเบียบที่มีขอบเขต
กลุ่มเป้าหมายรวมถึงผู้หญิง ผู้มีฐานะยากจนและกลุ่มชายขอบต่าๆ เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้สามารถเข้า
ถึงความยุติธรรม และสามารถน�าไปบังคับใช้ในการเข้าถึงทรัพยากรที่น�าไปสู่การลดปัญหาความยากจน และความไม่
ยุติธรรมต่างๆ ทั้งนี้ การพัฒนาตามแนวทางกฎหมายที่ว่านี้จะต้องให้ความส�าคัญกับมุมมองความเสมอภาคทางเพศ
ทั้งในทางกฎหมาย และโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรม สถาบัน องค์กรรัฐและภาคประชาสังคมในการสนับสนุนการ
ท�างานของผู้หญิง
๔) มุ่งด�าเนินการทั้งมาตรการเฉพาะและมาตรการชั่วคราวเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิง
ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับ และปฏิบัติการเพื่อเพิ่มจ�านวนของผู้หญิงในฐานะผู้แทนในการ
เสนอกฎหมาย การบริหารและองค์กรศาลยุติธรรม และบทบาทของผู้หญิงในภาคส่วนสาธารณะ และการบริการต่างๆ
๕) เพิ่มโอกาสผู้หญิงให้เข้าถึงการบริการทางสังคมและสุขภาพ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนและการสนับสนุน
งบประมาณที่เพียงพอในการช่วยเหลือผู้หญิง/เด็กหญิง และกลุ่มชายขอบที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการ หรือหญิงที่มี
ฐานะยากจนในการเข้าถึงบริการทางสังคมและสุขภาพ
๒๐ Report of Ministerial Conference on Women’s Role in the Development of OIC Member States.
http://www.oic-oci.org/oicv2/page/?p_id=225&p_ref=71&lan=en
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 23