Page 36 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 36
ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานย่อยในสังกัดของ OIC และสถาบันเชี่ยวชาญพิเศษ
๑) ให้กรรมการสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระในประเทศสมาชิก OIC ด�าเนินงานเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิงและเด็ก
และหลักคุณค่าของความยุติธรรมและความเสมอภาคอย่างต่อเนื่อง
๒) จัดหาบุคลากรและงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อรับประกันการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิงให้มีประสิทธิภาพ
๓) ให้มีการทบทวนกฎหมายครอบครัวเพื่อต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง, การแต่งงานก่อนวัย
(Early marriage) และการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ
๓.๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
กสม. ในฐานะที่เป็นองค์กรระดับชาติในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และ
อ�านาจหลักในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า
และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยา
ผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง กอปรกับประเทศไทย
มีพันธกรณีที่ต้องรายงานผลการด�าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ต่อสหประชาชาติในฐานะรัฐภาคี กสม.
จึงมีบทบาทส�าคัญ ดังนี้
๑) การรับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กสม.รับค�าร้องเรียนเมื่อเกิดกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น ท�าการตรวจสอบ และรายงานข้อเท็จจริง
พร้อมข้อเสนอแนะเชิงกฎหมาย นโยบาย หรือ มาตรการในการยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง ทั้งยังสามารถ
หยิบยกปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นพิจารณาได้เองด้วยกระบวนการท�างานของ กสม. การด�าเนินงานที่
ผ่านมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ กสม. มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ
ด้านต่างๆ ท�าการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ใน กสม. ชุดที่สอง คณะอนุกรรมการที่ท�าหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องผู้หญิง
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และต่อมา กสม. ชุดที่ ๓ ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการด้านสิทธิและความเสมอภาคทางเพศสภาพ ท�าหน้าที่ตรวจสอบ
เรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวกับเพศสภาพ โดยผู้ได้รับความเดือดร้อนสามารถ
ยื่นเรื่องได้หลายช่องทาง
ทั้งการร้องเรียนโดยตรงที่ส�านักงาน กสม. และการร้องเรียนผ่านศูนย์ประสานงานสิทธิมนุษยชนจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้งการร้องเรียนทางโทรศัพท์ (๑๓๗๗) และ
การร้องเรียนทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีเป็นเรื่องร้องเรียนที่เห็นว่าผู้ร้องอาจไม่ได้รับความปลอดภัยหรือเป็นกรณี
ที่ผู้ร้องประสงค์จะให้ปกปิดชื่อ กสม. จะปกปิดชื่อของผู้ร้องเรียนไว้เป็นความลับ โดยจะแจ้งผลการตรวจสอบและ
ข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร้องเรียนได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
อีกทั้งหากกรณีเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องได้รับการพิจารณาในชั้นศาล ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็สามารถที่จะน�ารายงานผล
การตรวจสอบของ กสม. ไปใช้เป็นพยานหลักฐาน หรือสามารถขอให้ กสม. ไปเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลด้วยได้
ปัจจุบันนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีค�าร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้หญิงมุสลิมมาที่ กสม. ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ
หญิงผู้เสียหายอาจมีความหวาดกลัวเพราะทั้งผู้กระท�า ผู้น�าศาสนา และคนในชุมชน มักอ้างหลักศาสนาเพื่อสร้าง
ความชอบธรรมที่จะจ�ากัดสิทธิของผู้หญิงในกฎของชุมชน ท�าให้ผู้หญิงต้องยอมจ�านนให้มีการละเมิดต่อไป ประเด็นนี้
จึงเป็นประเด็นท้าทายที่ กสม.ต้องท�างานกับเครือข่ายอย่างเข้มแข็งในการสร้างความตระหนักและการปรับเปลี่ยน
เจตคติในกลุ่มผู้น�าชุมชนและผู้น�าศาสนาในท้องถิ่น โดยการให้ความรู้และเพิ่มพลังความเชื่อมั่นแก่ผู้หญิงมุสลิมต่อไป
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 25