Page 38 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 38
๒.๒) รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีที่มีต่อกลไกด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ของสหประชาชาติ
ในฐานะสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กสม. มีหน้าที่จัดท�ารายงานคู่ขนานผลการด�าเนินงานของ
ประเทศไทยและเสนอแนะการด�าเนินงานของรัฐบาลในประเด็นต่างๆ ตามพันธกรณีที่มีต่ออนุสัญญาอื่นๆ ที ประเทศไทย
เข้าเป็นภาคีด้วย ซึ่งในบางรายงานมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสตรีโดยรวม หรือสตรีมุสลิมเป็นการเฉพาะด้วย หลังเสร็จสิ้น
การรายงานของประเทศไทยคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาต่างๆ ได้มีสรุปข้อคิดเห็นทั้งข้อห่วงใยและข้อเสนอแนะ
ที่เกี่ยวกับผู้หญิงมุสลิม ดังนี้
• อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) คณะกรรมการการ CERD มีข้อกังวล
ต่อประเทศไทย (ข้อ ๒๐) (ข้อ ๒, ๕ (ง) ) ว่าผู้หญิงเชื้อสายมลายูก�าลังเผชิญการเลือกปฏิบัติที่ซ�้าซ้อน ทั้งในพื้นที่
การเมืองและชีวิตทางสังคม ท�าให้โอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงกลุ่มนี้มีความยากล�าบากขึ้นอีกมาก
(พ.ศ. ๒๕๕๕)
• อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment
of Punishment-CAT) คณะกรรมการ CAT มีข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย (ข้อ16 (d) ให้ขจัดอุปสรรคการเข้าถึง
ความคุ้มครองทางกฎหมายและชดใช้ความเสียหายแก่ผู้หญิงกลุ่มด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้หญิงมลายูมุสลิมในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. ๒๕๕๗)
• กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on the Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) คณะกรรมการ ICESCR ได้มีข้อเสนอ
แนะให้ประเทศไทยด�าเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศ (พ.ศ.๒๕๕๘)
• กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights-ICCPR) คณะกรรมการ ICCPR ก็ได้ให้ข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยด�าเนินการ
ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง โดยการแก้ไขพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ขจัดความรุนแรง
ในครอบครัวให้หมดไป แก้ไขกฎหมายให้ยุติการด�าเนินคดีอาญาหากมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม รวมถึงให้
ประเทศไทยเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในชีวิตทางการเมือง และโอกาสการเป็น
ผู้บริหารระดับสูง และให้มีการรณรงค์สร้างจิตส�านึกเพื่อขจัดอคติและความเข้าใจผิดทางเพศ (พ.ศ. ๒๕๖๐)
๒.๓) รายงานคู่ขนานตามกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ (Universal Periodic Review -UPR)
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สหประชาชาติโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human
Rights Council-UNHRC) ได้ปรับปรุงกลไกการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ
ให้ทันสมัยและเท่าทันการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศที่มีความเสี่ยงหรือมีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ได้ดียิ่งขึ้นซึ่งสหประชาชาติเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งก�าหนดให้
ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศต้องรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศต่อ UNHRC เป็นระยะๆ
และเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติอื่นๆ ให้ข้อเสนอแนะต่อประเทศที่ถึงวาระต้องรายงาน UNHRC ได้ ทั้งนี้
เพื่อให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น ให้ทั่วโลกมีการสนับสนุน
ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมถึงให้มีการช่วยเหลือทางวิชาการในการสร้างเสริมสมรรถนะการ
จัดการด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 27