Page 39 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 39

ตามกระบวนการ UPR ประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ถึงก�าหนดรายงานจะส่งรายงานด้าน
              สิทธิมนุษยชนของประเทศนั้น (National Report) ให้ UNHRC และส�านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน

              แห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights-OHCHR) โดย UNHRC จะตั้งคณะท�างาน
              UPR จากประเทศสมาชิกสหประชาชาติเพื่อทบทวนรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ
              ที่ถึงก�าหนดรายงานโดยประเมินจากข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วน ได้แก่ ๑) รายงานของรัฐ

              ๒) รายงานด้านสิทธิมนุษยชนจากกลไกประจ�าอนุสัญญาที่รัฐนั้นเป็นภาคี และ ๓) รายงานจากภาคส่วนอื่นๆ เช่น
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Government Organizations)

              รวมทั้งรายงานจากหน่วยงานของสหประชาชาติที่จะเข้ามารวบรวมข้อมูลประเด็นสิทธิมนุษยชน เช่น การที่เจ้าหน้าที่
              สหประชาชาติเข้าพบผู้น�ารัฐบาลเพื่อรับทราบข้อมูลและสถานการณ์ล่าสุดของรัฐภาคี จากนั้นคณะท�างานจะน�าเสนอ
              รายงานผลการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศนั้นให้ที่ประชุม UNHRC ทั้งคณะพิจารณา

              (Peer Review) เพื่อให้มีการรับรองต่อไป ประเทศที่ถูกทบทวนจะต้องตอบค�าถามในประเด็นที่ประเทศสมาชิก
              อาจมีข้อสงสัย และจะต้องน�าข้อเสนอที่ได้รับมาไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ซึ่งหากประเทศที่ถูกทบทวนไม่ปฏิบัติตาม

              หรือไม่ให้ความร่วมมือ UNHRC จะทวงถามประเทศที่ถูกทบทวนต่อไป
                            กสม. จึงมีหน้าที่จัดท�ารายงานคู่ขนานผลการด�าเนินงานของประเทศไทยและเสนอแนะการด�าเนินงาน
              ของรัฐบาลในประเด็นต่างๆ ตามกระบวนการ UPR ด้วย ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณาทบทวนสถานการณ์

              สิทธิมนุษยชนตาม UPR มาแล้ว ๒ ครั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๙  หลังเสร็จสิ้นการรายงานของประเทศไทย
              คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงมุสลิมและปรับปรุงกฎหมาย

              ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เป็นต้น


                     ๓.๔. ความร่วมมือระหว่าง กสม. และองค์กรเครือข่าย

                          ๑) การด�าเนินการในช่วง กสม. ชุดที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘)
                            เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องเผชิญกับ

              ปัญหาที่ซับซ้อน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ ๒ ซึ่งมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อมรา พงศาพิชญ์
              เป็นประธานกรรมการ และองค์กรภาคี ได้แก่ ส�านักจุฬาราชมนตรี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ
              มหาวิทยาลัยพายัพ  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มูลนิธิผู้หญิง และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

              วิทยาเขตปัตตานี (ดูภาคผนวก ๓) จึงได้ร่วมกันริเริ่มโครงการ “การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครอง
              สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก UN Women ภายใต้

              โครงการระดับภูมิภาค “การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๗ ประเทศ (Regional
              Programme on Improving Women’s Human Rights in Southeast Asia, 2011-2015)” เพื่อ ๑) สร้างความ
              ตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงผ่านหลักอิสลามและหลักสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง ๒) ระดมความคิดเห็น

              และข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นรูปธรรม
              มีกลุ่มเป้าหมายจากสามจังหวัดจ�านวนรวม ๒๓๙ คน ร่วมในกิจกรรมดังตารางสรุป ต่อไปนี้














                28     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44