Page 35 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 35
๖) พัฒนาหลักสูตรในทุกระดับการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักในเรื่องความอ่อนไหวทางเพศ เพื่อเข้าใจถึง
สาเหตุที่ท�าให้เกิดอคติทางเพศทั้งในการท�างานและชีวิตทางสังคม
๗) สนับสนุนให้เกิดความลงตัวระหว่างการท�างานของผู้หญิงกับความรับผิดชอบในครอบครัวโดยการสนับสนุน
นโยบายที่เป็นมิตรกับครอบครัว ได้แก่ การลาคลอดและการอ�านายความสะดวกในการดูแลเด็ก การให้แม่ท�างานจาก
ที่บ้าน รวมทั้งการให้หลักประกันความมั่นคงในการท�างานแก่ผู้หญิงหลังการลาคลอด โดยต้องค�านึงถึงความส�าคัญ
กับบทบาทของผู้หญิงในครอบครัว
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ประชุมรัฐมนตรีกิจการผู้หญิงของประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือ
อิสลาม ได้มีการประชุมที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี และมีมติเห็นชอบปฏิญญาอีสตันบูล เรื่อง “บทบาทของผู้หญิง
ในการพัฒนาของประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม” (The Role of Women in the Development
of the OIC Member States) (ดูภาคผนวก ๒) โดยปฏิญญาฉบับนี้มีสาระส�าคัญ คือ
๑) ให้มีการน�า UNSCR ๑๓๒๕ เรื่อง ผู้หญิง สันติภาพและความมั่นคงมาใช้เพื่อคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก
ในพื้นที่สงครามและพื้นที่ความขัดแย้ง (Conflict Zone) (ข้อ ๖)
๒) ให้น�ามาตรการที่จ�าเป็นมาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองหญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรง การถูกละเมิดและ
การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในกรณีความขัดแย้ง หรือในภาวะสงคราม รวมถึงในค่ายผู้ลี้ภัย (ข้อ ๑๐)
๓) ให้มีการยอมรับสิทธิของผู้หญิงให้มีโอกาสที่เท่าเทียม การมีส่วนร่วม สิทธิในการเป็นผู้น�า และให้น�าหลัก
ความอ่อนไหวทางด้านเพศสภาพมาใช้กับกรอบงานทุกๆ ด้าน เช่น การก�าหนดงบประมาณ กฎหมาย นโยบายและ
ในรัฐธรรมนูญ (ข้อ ๑๑)
๔) เน้นย�้าไม่ให้มีการเลือกปฎิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกรูปแบบในด้านที่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา
อิสลาม วัฒนธรรม การศึกษา การจ้างงาน หรือในด้านการใช้ชีวิตในสังคมและทางด้านสื่อมวลชน (ข้อ ๑๒)
ปฏิญญาอิสตันบูล มีข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกของ OIC และข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานย่อยต่างๆ ของ
OIC และสถาบันเชี่ยวชาญพิเศษ ดังนี้
ข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกของ OIC
๑) ให้ประเทศสมาชิกเร่งให้มีการออกกฎหมายเพื่อประกันและส่งเสริมโอกาสในด้านความเสมอภาคของผู้หญิง
และให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมมากขึ้นในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา สิทธิทางด้านการศึกษา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การศึกษาในระดับสูง) การขจัดอคติเหมารวมต่อผู้หญิงโดยเฉพาะในภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การมีส่วนร่วม
ของผู้หญิงในสังคมผ่านทางรัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมต่อนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวกับ
สวัสดิการและประกันสังคม
๒) ให้รัฐสภาของประเทศสมาชิกออกบทบัญญัติเพื่อต่อสู้กับปัญหาการค้าหญิงและเด็กหญิง ปัญหาการล่วง
ละเมิดทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัว
๓) ให้มีการพัฒนากฎหมายและนโยบายต่างๆ เพื่อสนับสนุนการจ้างงานในผู้หญิง และมีมาตรการพิเศษเพื่อ
ขจัดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในที่ท�างานและพื้นที่สาธารณะ
๔) ให้มีหลักประกันการมีส่วนร่วมของผู้หญิงทั้งในครอบครัว และสังคม ทั้งในองค์กรของรัฐ, เอกชน และ
ภาคประชาสังคม และส่งเสริมนโยบายและกฎหมายที่ประกันสวัสดิการและความมั่นคงในสังคม
24 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้