Page 32 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 32
ตัวอย่างกรณีข้อร้องเรียนของผู้หญิงมุสลิมจากประเทศต่าง ๆ เช่น
• ข้อร้องเรียนของ ราฮีม ครูมัธยมชาวตุรกี ที่ถูกปลดจากงานเพราะโพกผ้าคลุมผมตามประเพณี
มุสลิม โดยที่ท�างานของเธอพิจารณาว่าเป็นการกระท�าที่ขัดต่อระเบียบการแต่งกายในที่ท�างาน ถือว่าเป็นการจงใจ
ประกาศอุดมการณ์และมีจุดมุ่งหมายทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม ส่งผลต่อความสงบสุขในที่ท�างาน ได้มีการ
ตักเตือนแล้วแต่ยังไม่เลิก จึงถูกให้ออก แม้กรณีนี้เกิดก่อนที่ตุรกีจะเข้าเป็นภาคีแต่ผลกระทบที่ครูหญิงได้รับยังคงเกิดขึ้น
อย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงที่ตุรกีเข้าเป็นภาคี กรณีนี้เป็นการเลือกปฏิบัติตามข้อ ๑๑ ของ CEDAW ท�าให้ผู้ร้องขาดรายได้
เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ CEDAW ยังไม่รับข้อร้องเรียนนี้ เพราะยังไม่สิ้นสุด
กระบวนการในประเทศ
• ข้อร้องเรียนของ ฟาติมา ต่อประเทศออสเตรีย ที่ล้มเหลวที่จะให้ความปลอดภัยและการคุ้มครอง
ชีวิตผู้หญิง จนมารดาของเธอซึ่งเป็นผู้ย้ายถิ่นต้องเสียชีวิตจากความรุนแรงในครอบครัวโดยถูกสามีแทงตายขณะเดินทาง
จากที่ท�างานกลับบ้าน เป็นการละเมิดอนุสัญญา ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และ ข้อ ๕ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ ๑๒ ๑๙ และ
๒๑ คณะกรรมการ CEDAW พิจารณาข้อร้องเรียนและมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลออสเตรียด�าเนินการ ดังต่อไปนี้ ๑)
สร้างความเข้มแข็งและติดตามการด�าเนินการตาม พ.รบ. ความรุนแรงในครอบครัวโดยทันทีไม่ล่าช้า ๒) ลงโทษผู้
กระท�าผิดโดยเร็ว โดยใช้ทั้งมาตรการแพ่งและอาญา สิทธิของผู้กระท�าไม่ควรส�าคัญกว่าสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ของผู้หญิง
ที่ถูกกระท�า และความปลอดภัยในชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๓) ปรับปรุงการประสานการท�างานระหว่างผู้บังคับ
ใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม โดยประสานกับองค์กรสตรีในการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือผู้เสียหาย
ประเทศออสเตรียได้ด�าเนินการตอบสนอง ดังนี้ ๑) จัดการอบรมและให้การศึกษาเรื่องความรุนแรง
ในครอบครัวอย่างจริงจัง รวมถึงให้ความรู้เรื่อง CEDAW ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ ๑๙ เกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง และ
พิธีสารเลือกรับของ CEDAW แก่ ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ และเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ๒) จัดท�ารายงาน
การด�าเนินการของรัฐภาคีภายในระยะเวลา ๖ เดือน และ ๓) จัดแปลข้อเสนอแนะเป็นภาษาเยอรมัน และเผยแพร่
แก่ทุกภาคส่วน
๒) ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ ๑๓๒๕ เรื่อง “ผู้หญิง และ สันติภาพและ
ความมั่นคง” (UN Secretary Council Resolution 1325 on Women and Peace and Security)
UNSCR 1325 เรื่อง “ผู้หญิง และ สันติภาพและความมั่นคง” เป็นเอกสารทางการ และมีภาระผูกพัน
กับให้รัฐภาคีต้องปฏิบัติตามฉบับแรกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ได้รับการรับรองเมื่อ ปี พ.ศ.
๒๕๔๓ เนื่องจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตระหนักถึงผลกระทบของความขัดแย้งจากการใช้ก�าลัง
อาวุธที่มีต่อผู้หญิง ซึ่งผลกระทบดังกล่าวไม่เป็นธรรมและมีรูปแบบเฉพาะตัว ทั้งยังเรียกร้องให้มีการน�ามิติ
ที่ค�านึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศมาพิจารณาความต้องการของผู้หญิงและเด็กหญิงในช่วงที่มีความขัดแยัง การส่ง
กลับประเทศ การตั้งถิ่นฐาน การฟื้นฟู การกลับคืนสู่สังคม และการปฏิรูปหลังความขัดแย้ง UNSCR ๑๓๒๕ ขอให้
คู่ความขัดแย้งป้องกันการละเมิดสิทธิสตรี สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ การบูรณะหลังความขัดแย้ง
และป้องกันผู้หญิงและเด็กจากความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงอันเนื่องมาจากฐานคิดเรื่องเพศภาวะในช่วง
ความขัดแย้งที่มีการใช้ก�าลังอาวุธ
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 21