Page 31 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 31

(๒) ข้อเสนอแนะทั่วไป
                         CEDAW ก�าหนดให้คณะกรรมการ CEDAW ท�าหน้าที่ออกข้อเสนอแนะทั่วไปเพื่อเป็นช่องทาง

              ในการอธิบายการตีความอนุสัญญาเพิ่มเติม และให้ค�าแนะน�าแก่รัฐภาคี เพื่อให้มีการด�าเนินการในการปฏิบัติตาม
              พันธกรณีที่มีต่ออนุสัญญานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะออกข้อเสนอแนะทั่วไปเป็นระยะๆ เพื่อให้ทันสมัยครอบคลุม
              ประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงมากที่สุด ข้อเสนอแนะทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงมุสลิม ได้แก่

                            •  ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ ๑๔ ว่าด้วยการขริบอวัยวะเพศหญิง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามประเพณีที่เป็น
              อันตรายต่อหญิงและเด็กหญิง (ทั้งนี้ ข้อ ๕ ของอนุสัญญา ให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อปรับปรุง

              แบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมของบุรุษและสตรี และส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์
              ในครอบครัว และความเป็นเพศมารดาที่เป็นหน้าที่ทางสังคม และการดูแลบุตรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของหญิง
              และชาย)

                            •  ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ ๑๙ ว่าด้วยความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งอธิบายว่าความรุนแรงอันเนื่องมาจาก
              ฐานคิดเรื่องเพศภาวะ เช่น ความรุนแรงที่กระท�าต่อสตรีเพราะเธอเป็นผู้หญิง หรือมีผลกระทบต่อสตรีอย่างรุนแรง

              เป็นพิเศษ รวมถึงการท�าร้ายหรือท�าให้เจ็บปวดในทางร่างกาย จิตใจ หรือทางเพศ การข่มขู่ว่าจะท�าร้าย การบังคับ
              และการลิดรอนเสรีภาพอื่นๆ นั้น ถือเป็นการเลือกปฏิบัติตามอนุสัญญานี้ อนุสัญญานี้ครอบคลุมถึงความรุนแรงที่
              กระท�าโดยบุคคล องค์กร หรือเจ้าหน้าที่รัฐ

                            •  ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ ๓๐ ว่าด้วยบทบาทผู้หญิงในการป้องกันข้อขัดแย้ง สถานการณ์ความขัดแย้ง
              และสถานการณ์หลังความขัดแย้ง (พ.ศ. ๒๕๕๖) ทั้งการเยียวยา การมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพตามมติคณะ

              มนตรีความมั่นคงที่ ๑๓๒๕ การค้ามนุษย์ ความรุนแรงจากทุกฝ่าย และการสมรส
                            •  ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ ๓๓ ว่าด้วยสิทธิที่จะเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง ซึ่งหมายถึง การที่ผู้หญิง
              มิสิทธิสิทธิมนุษยชนทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย เข้าถึงอ�านาจศาลได้และการเยียวยาที่มีคุณภาพได้ รวมทั้งมีกระบวนการ

              ยุติธรรมที่รับผิดชอบต่อประชาชน  นับว่าสิทธิที่จะเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงเป็นสิทธิที่ส�าคัญมากต่อการท�าให้
              สิทธิของผู้หญิงทุกด้านเป็นจริงตาม CEDAW เนื่องจากจะเป็นรากฐานส�าคัญของกฎหมาย ธรรมาภิบาล และตุลาการ

              ที่เป็นอิสระ เป็นกลาง ถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งการไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวลและต้านการฉ้อโกง และ
              การมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่างเสมอภาคในตุลาการและกลไกการด�าเนินการตามกฏหมาย



                       (๓) พิธีสารเลือกรับของ CEDAW (CEDAW Optional Protocol)
                       พิธีสารนี้เป็นอนุสัญญาย่อยของ CEDAW ที่เพิ่มอ�านาจหน้าที่ให้แก่กรรมการ CEDAW ในการรับเรื่อง

              ร้องเรียน เป็นช่องทางให้ผู้หญิงที่ถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากฐานคิดเรื่องเพศภาวะยื่นข้อร้องเรียนและขอรับการ
              เยียวยาจากรัฐที่ถูกร้องเรียน ผู้ร้องเรียนอาจเป็นผู้เสียหายหรือกลุ่มผู้เสียหายหรือองค์กร/หน่วยงานที่ผู้เสียหายยินยอม
              ให้ด�าเนินการแทน พิธีสารนี้เปิดโอกาสให้รัฐภาคีที่ถูกร้องเรียนชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้น คณะกรรมการ CEDAW จะพิจารณา

              ข้อเท็จจริงของทั้งสองฝ่ายว่าจะรับข้อร้องเรียนไปพิจารณาต่อไปหรือไม่ เงื่อนไขการรับข้อร้องเรียน คือ ผู้ร้องจะต้อง
              ใช้กลไกรัฐภายในประเทศในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนหมดสิ้นแล้ว เว้นแต่การด�าเนินการแก้ไขดังกล่าวล่าช้า

              โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่น่าจะมีมาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล หรือไม่ได้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
              โดยกระบวนการสอบสวนหรือไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศอื่นๆ คณะกรรมการ CEDAW สามารถที่จะขอเข้าไป
              ตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศที่ถูกร้อง รวมทั้งมีหนังสือสอบถามให้รัฐภาคีนั้นตอบคณะกรรมการ CEDAW ภายใน

              ก�าหนดด้วย




                20     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36