Page 30 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 30

๓




                                       การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม


                             ของผู้หญิงมุสลิม: ความพยายามของสหประชาชาติ

                         กลุ่มประเทศมุสลิม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ






                      รายงานบทนี้จะชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในแต่ละ
               ระดับ ตั้งแต่ระดับสหประชาชาติ กลุ่มประเทศมุสลิม และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ดังนี้




               ๓.๑ กลไกของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
                      นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงปัจจุบัน สหประชาชาติได้ให้การรับรองอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นหลัก
               ประกันการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ จ�านวนทั้งสิน ๙ ฉบับ  โดยมี CEDAW เป็นอนุสัญญาที่คุ้มครอง
                                                                         ๑๙
               สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงโดยตรง นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ให้การรับรองข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
               สหประชาชาติที่ ๑๓๒๕ เรื่อง “ผู้หญิง และ สันติภาพและความมั่นคง” (UN Secretary Council Resolution

               1325 on Women and Peace and Security) ซึ่งเป็นเอกสารทางการ (Official Document) และมีภาระผูกพัน
               ให้รัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม (Legal Document) ดังรายละเอียดต่อไปนี้


                      ๑) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW)
                        เพื่อให้รัฐภาคีมีการด�าเนินการตามข้อผูกพันที่มีต่ออนุสัญญานี้ สหประชาชาติได้เห็นชอบให้คณะกรรมการ

               CEDAW มีกลไกในการติดตามการด�าเนินงานของรัฐภาคี ดังนี้
                        (๑) การจัดท�ารายงานของรัฐภาคีเสนอต่อคณะกรรมการ CEDAW (State Report Review)
                          สหประชาชาติมอบหมายให้คณะกรรมการ CEDAW ท�าหน้าที่พิจารณารายงานของรัฐภาคี โดย

               รัฐภาคีจะต้องจัดท�ารายงานฉบับแรกภายใน ๑ ปี หลังจากเข้าเป็นภาคี หลังจากนั้นจะต้องจัดท�ารายงานในทุก ๔ ปี
               โดยคณะกรรมการ CEDAW จะก�าหนดให้รัฐภาคีรายงานความคืบหน้าในการด�าเนินการตามข้อห่วงใยและข้อเสนอแนะ

               ที่ให้ไว้ในสรุปข้อสังเกต (Concluding Observations) จากการรายงานของรัฐภาคีนั้นในครั้งก่อน






               ๑๙  ปัจจุบันมีทั้งสิน ๙ ฉบับ ดังนี้ ๑) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination
                  - CERD), ๒) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR), ๓) กติการะหว่างประเทศว่า
                  ด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR), ๔) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ
                  ต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women - CEDAW), ๕) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the
                  Rights of the Child - CRC), ๖) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against
                  Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT), ๗) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons
                  with Disabilities - CRPD), ๘) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of
                  All Persons from Enforced Disappearance (CED) และ ๙) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the
                  Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families หรือ CMW) ประเทศไทยยังไม่รับรองอนุสัญญาล�าดับที่ ๘ และ ๙



                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  19
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35