Page 28 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 28
• ความพยายามขององค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation-OIC) เพื่อ
ผลักดันให้มีปฏิญญาเพื่อการขจัดการเลือกปฏิบัติและส่งเสริมความเสมอภาคของผู้หญิง (ปฏิญญาองค์กรความร่วมมือ
๑๘
อิสลามว่าด้วยบทบาทผู้หญิงในมิติต่างๆ ) ถือเป็นตัวอย่างส�าคัญของการตอบรับมาตรฐานสากลและเป็นตัวอย่าง
ของการเชื่อมโยงมาตรฐานระหว่างประเทศเข้ากับหลักการทางศาสนา
• ความคิดที่ว่ามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยเฉพาะ CEDAW เป็นสิ่งแปลกแยกเป็นของ
ตะวันตกและเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการศาสนาอิสลามจึงไม่ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากมีประเทศมุสลิมเป็นภาคี CEDAW
ร้อยละ ๑๒ จากประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นรัฐภาคีทั้งสิ้น ๑๙๙ ประเทศ การเชื่อมโยงตนเอง (และหลักการ
ศาสนาอิสลาม) ในฐานะที่เป็นมุสลิมเข้ากับมาตรฐานระหว่างประเทศด้วยอัตลักษณ์สมาชิกของชุมชนโลกจึงเป็นเรื่อง
ส�าคัญ เพราะมุสลิมยังต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ อีกทั้งเป็นหน้าที่ที่เราต้องร่วมกันผลักดันให้ชุมชนมุสลิมและชุมชนโลก
สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วย
• การบังคับแต่งงานเพื่อรักษาเกียรติของครอบครัว หรือแม้กระทั่งการจัดการความต้องการทางเพศของ
เยาวชนด้วยการบังคับแต่งงานให้เด็กหรือเยาวชนเป็นอีกสถานการณ์ที่น่ากังวลเพราะจะท�าให้ผู้หญิงตกอยู่ในภาวะ
ขมขื่นไปตลอดชีวิต ประเทศมุสลิมหลายประเทศเสนอว่าต้องแก้ไขโดยให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับการศึกษา
ที่สูงขึ้น และให้ทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความห่วงใยและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ CEDAW ที่มีต่อประเทศ
ต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยถึงการแก้ปัญหานี้ อนึ่ง ตามหลักการอิสลามเป้าหมายของการแต่งงานจะให้ความส�าคัญที่
“การสร้างครอบครัว” มากกว่า “การมีเพศสัมพันธ์” ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงควรระมัดระวังการใช้ศาสนาเป็นข้ออ้าง
เพื่อเป็นเหตุผลในการรองรับการแต่งงานกับเด็กและเยาวชนเพียงเพื่อสนองความต้องการมีเพศสัมพันธ์ แม้กฎของ
ชุมชนและการจัดการเพื่อปกป้องเกียรติของชุมชนจะมีความส�าคัญมากในท้องถิ่น แต่ต้องพิจารณาด้วยว่ากฎชุมชน
ขัดกับหลักการศาสนาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น มีบทบันทึกวัตรปฏิบัติ (ซุนนะฮ์) ของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ที่กล่าว
ถึงตอนที่ท่านได้ยุติการแต่งงาน (ประกาศให้การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ) ของศ่อฮาบะฮ์ (อัครสาวกสาวก) คนหนึ่ง
เมื่อท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้รับทราบว่าศ่อฮาบะฮ์ผู้นั้นได้บังคับลูกสาวของเขาให้แต่งงาน
๑๘ Teharan Declaration 2010 (http://ww1.oic-oci.org/external_web/Iran_Women/en/docs/Final%20Tehran%20Declaration.pdf),
Jakarta Declaration on the Role of Women Development in OIC Member State – 2012, Istanbul Declaration 2016 (https://www.oic-oci.org/subweb/
woman/6/en/docs/final/6wom_dec_en.pdf) and ect.
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 17