Page 27 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 27
ศิริพร สะโครบาเนค ประธานมูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า บางคนใช้ค�าว่า “การเลือกปฏิบัติเชิงบวก หรือ การเลือก
ปฏิบัติที่เป็นคุณ (positive discrimination/affirmative action) เพื่ออธิบาย “มาตรการพิเศษชั่วคราว” ซึ่งใม่
ควรใช้ทั้งสองค�าข้างต้น เพราะการเลือกปฏิบัติมีความหมายเชิงลบอยู่แล้ว
จึงไม่ควรมี “การเลือกปฏิบัติเชิงบวก” หรือ “การเลือกปฏิบัติที่เป็นคุณ”
ได้อีก จะท�าให้คนทั่วไปมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการเลือกปฏิบัติสามารถ
ท�าได้ จริงๆ แล้ว “มาตรการพิเศษชั่วคราว” เป็นการเพิ่มแต้มต่อให้แก่ผู้หญิง
เพื่อลดช่องว่างระหว่างหญิงและชาย ผู้หญิงจะได้มีโอกาสทางเศรษฐกิจและ
สังคมสมดุลกับชาย และบรรลุความเสมอภาคเร็วขึ้น
ส่วนข้อ ๕-๑๖ ผูกพันให้รัฐขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในมิติ
ต่างๆ แม้จะไม่ครอบคลุมทุกมิติแต่นิยามของการเลือกปฏิบัติตาม CEDAW
ข้อ ๑ ก็สามารถท�าให้พิจารณาการเลือกปฏิบัติต่อสตรีครอบคลุมทุกมิติได้
๒.๓ สรุปความสอดคล้องระหว่าง หลักอิสลาม กับ หลักการ CEDAW
๑๗
การปฏิบัติทางศาสนาอิสลามในแต่ละพื้นที่และสังคมอาจขึ้นอยู่กับการตีความตามวัฒนธรรมท้องถิ่นของ
สังคม นั้นๆ ที่พอจะเข้ากันได้แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับหลักศาสนาอิสลาม การตีความและวิถีปฏิบัติทางอิสลามจึง
อาจมีความหลากหลายตามจุดยืนของแต่ละส�านักคิด (School of Thought) หรือวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีวิวัฒนาการ
มาโดยตลอดนับแต่เมื่อศาสนาอิสลามเกิดขึ้นในโลกเมื่อกว่า ๑๔๐๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งที่สอดคล้องกันและขัดแย้ง
กันเอง ดังนั้น จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องยึดหลักการตามคัมภีร์อัล-กุรอานให้มั่น การอ้างอิงบท
ค�าสอนในคัมภีร์อัล-กุรอานต้องท�าอย่างประณีต มิใช่การยกเพียงบทค�าสอนวรรคใดวรรคหนึ่ง (อายะฮ์) เพียงอย่างเดียว
แต่ต้องค�านึงถึงเจตนารมณ์ของการประทานบทค�าสอน (อายะฮ์) ต่างๆ ลงมาด้วย นอกจากนี้ จะต้องไม่ขัดหรือ
แย้งกับหลักการที่เป็นเสาหลักของศาสนาอิสลามเรื่องความยุติธรรมและความเมตตาด้วย ประวัติศาสตร์อิสลาม
มีพัฒนาการจากเมื่อ ๑๔๐๐ กว่าปีเพื่อยกระดับสถานภาพผู้หญิงให้ดีขึ้นจากการเป็นทาส บ�าเรอชาย มามีสิทธิใน
มรดกและทรัพย์สิน สิทธิในการสมรสหรือยุติการสมรส รวมถึงสิทธิในการศึกษา เป็นต้น
• การเลือกตีความและการปฏิบัติทางศาสนาอิสลามที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเป็นการขัดแย้งกับ
CEDAW เช่น การมีภรรยาหลายคน ความไม่เท่าเทียมด้านการสมรสและการหย่า การบังคับแต่งงานในวัยเด็ก
การจ�ายอมสามีเรื่องการเว้นระยะการมีบุตร การห้ามผู้หญิงออกไปท�างานนอกบ้าน การอบรมสั่งสอนเมียด้วยการ
ทุบตี
• สัมพันธภาพระหว่างหญิงชายที่ไม่เสมอภาคกัน เช่น การมีภรรยาหลายคน ความไม่เท่าเทียมด้าน
การสมรสและการหย่า การบังคับแต่งงานในวัยเด็ก การจ�ายอมสามีเรื่องการเว้นระยะการมีบุตร การห้ามผู้หญิงออก
ไปท�างานนอกบ้าน การสั่งสอนเมียด้วยการทุบตี เป็นการขัดกับปรัชญาพื้นฐานของอิสลาม ที่ให้ความส�าคัญกับ
ความยุติธรรม ความรัก ความเมตตา ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
๑๗ ผศ.ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี
16 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้