Page 26 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 26

จุดเด่นของ CEDAW ที่ไม่เหมือนอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนฉบับอื่น ๆ


                      •   CEDAW เรียกร้องให้หญิงและชายในทุกระดับ ทั้งในครอบครัว ชุมชน สาธารณะ และรัฐ มีสัมพันธภาพ
               เชิงอ�านาจที่เสมอภาคกัน

                      •   CEDAW ชี้ให้เห็นว่าการละเมิดผู้หญิงในพื้นที่ส่วนตัว เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
                      •   CEDAW ยอมรับถึงผลกระทบเชิงลบของการปฏิบัติทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมที่เกิดจากการ
               ตีค่าความต�่าต้อยหรือสูงส่งของเพศใดเพศหนึ่ง หรือ บทบาทเหมารวมของหญิงและชาย


                      ๓) หลักพันธกรณีของรัฐ (Principle of State Obligation)

                      การเป็นรัฐภาคี CEDAW หมายถึง ประเทศนั้นสมัครใจยอมรับข้อผูกพันในการด�าเนินการผ่านกฎหมาย
               หรือบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมายที่ก�าหนดไว้ใน CEDAW ที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและจะท�าให้เกิด
               ความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย โดยจะปฏิบัติตามบรรทัดฐานและมาตรฐานที่รัฐภาคีทั้งปวงเห็นชอบร่วมกัน

               และยินดีให้คณะกรรมการ CEDAW ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระจากนานาประเทศจ�านวน ๒๓ คน ติดตามและ
               ตรวจสอบการด�าเนินงานของรัฐภาคีตามบรรทัดฐานและมาตรฐานของ CEDAW นอกจากนี้ รัฐภาคียังมีข้อผูกพัน

               ที่จะด�าเนินการให้บรรลุความเสมอภาคเชิงผลลัพธ์ หรือ ประกันว่าผู้หญิงได้ใช้สิทธิต่างๆ และได้ประโยชน์จากการใช้
               สิทธินั้นจริง
                      ประเทศภาคียังมีข้อผูกพันที่จะต้องเสนอรายงานภายใน ๑ ปี หลังจากการเข้าเป็นภาคี โดยรายงานถึง

               อุปสรรคเกี่ยวกับความเสมอภาคของผู้หญิงและการด�าเนินการของรัฐที่จะขจัดอุปสรรคนั้น หลังจากนั้นจะต้องรายงาน
               ความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ทุก ๔ ปี รัฐมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้หญิงที่ไม่อาจเพิกถอนได้และเป็นความรับผิดชอบ

               ระดับประเทศและประชาคมโลก
                      CEDAW ข้อ ๒ ระบุถึงพันธกรณีของรัฐภาคีที่จะก�าหนดนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติผ่านกฎหมาย กลไกเชิง
               สถาบันและนโยบายต่างๆ ข้อ ๓ ผูกพันรัฐที่จะส่งเสริมความเสมอภาคผ่านวิธีการที่เหมาะสมทั้งปวง รวมถึงมาตรการ

               เชิงรุกและเงื่อนไขที่เอื้อเพื่อประกันการพัฒนาและความก้าวหน้าอย่างเต็มที่ของผู้หญิง ข้อ ๔ ผูกพันให้รัฐใช้ “มาตรการ
               พิเศษชั่วคราว” ซึ่งเป็นการเพิ่มแต้มต่อให้แก่ผู้หญิงเพื่อลดช่องว่างระหว่างหญิงและชาย ให้มีโอกาสทางเศรษฐกิจ

               และสังคมที่สมดุลกันทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ  และเร่งให้เกิดความเสมอภาคในเชิงผลลัพธ์เร็วขึ้น





























                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  15
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31