Page 25 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 25
๑) หลักความเสมอภาค (Principle of Equality) CEDAW ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติหรือการ
บริการเช่นเดียวกับผู้ชาย เพราะนั่นอาจไม่เพียงพอที่จะประกันว่าผู้หญิงจะได้รับประโยชน์จากการใช้สิทธินั้นอย่าง
เสมอภาคกับผู้ชาย แต่ต้องเป็นการปฏิบัติหรือการบริการที่ค�านึงว่าผู้หญิงมีความแตกต่างจากผู้ชายทั้งบทบาท หน้าที่
และความคาดหวังของสังคม ความแตกต่างนี้ท�าให้หญิงและชายมีสัมพันธภาพเชิงอ�านาจที่ไม่เสมอภาคกัน อันเป็น
อุปสรรคต่อโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรของผู้หญิง และจะต้องด�าเนินการต่อหญิงและชายแตกต่างกันอย่างไร
เพื่อให้ผู้หญิงได้รับโอกาส เข้าถึงทรัพยากร และที่ส�าคัญได้รับประโยชน์จากโอกาสและการเข้าถึงนั้น แทนที่จะด�าเนิน
การต่อหญิงและชายแบบเดียวกัน
ความเสมอภาคในโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรจะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีกรอบกฎหมาย นโยบาย และกลไก
การด�าเนินการของหน่วยงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม นโยบายแบบเหวี่ยงแหที่ไม่จ�าแนกเพศกลุ่มเป้าหมาย แม้จะไม่ได้
กีดกันผู้หญิงชัดเจน แต่อาจมีผลลัพธ์ที่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงได้ เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่มีภาระในการดูแลเด็ก
ผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งการที่สังคมคาดหวังในบทบาท ความสามารถ และ
ความต้องการของหญิงและชายต่างกัน สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการก�าหนดนโยบายและการปฏิบัติที่อาจ
เป็นการเลือกปฏิบัติหรือเป็นผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงได้
ท้ายที่สุด ความเสมอภาคที่แท้จริง (Substantive Equality) ไม่ใช่เพียงแค่ความเสมอภาคทางกฎหมาย
(นิตินัย) แต่ต้องเป็นความเสมอภาคเชิงผลลัพธ์ หรือ ความเสมอภาคในความเป็นจริง (พฤตินัย) ด้วย
๒) หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Principle of Non-discrimination) CEDAW ตระหนักถึงความจ�าเป็นและ
หนทางสู่การด�าเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อขจัดความไม่เสมอภาคและปรับปรุงกลไกเชิงสถาบันที่ยังมีการเลือกปฏิบัติ
ต่อสตรี
ตาม CEDAW ข้อ ๑ นิยาม “การเลือกปฏิบัติต่อสตรี” หมายถึง “การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจ�ากัดใดๆ
เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งเป็นผลให้หรือมีเจตนาท�าให้สตรีไม่ว่าจะมีสถานภาพการสมรสใดๆ ไม่ได้รับการยอมรับ
ไม่ได้ใช้สิทธิหรือไม่ได้รับประโยชน์จากสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม พลเมือง หรือด้านอื่นใดอย่างเสมอภาคกับชาย”
ด้วยค�านิยามนี้ ท�าให้เห็นจุดอ่อนของกฎหมายและนโยบายแบบเหวี่ยงแหที่ไม่ค�านึงถึงความแตกต่างระหว่าง
หญิงชายได้ชัดขึ้นว่า กฎหมายและนโยบายเหล่านี้ไม่ตระหนักว่าผู้หญิงยังคงได้รับความเดือดร้อนจากผลของการเลือก
ปฏิบัติในอดีต แม้กฎหมายหรือนโยบายอาจไม่มีเจตนารมณ์ที่จะปฏิเสธสิทธิของผู้หญิง แต่หากมีผลให้เป็นเช่นนั้น
ก็ถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติเช่นกัน
แม้ในหลายประเทศผู้หญิงมีสิทธิทางกฎหมาย แต่การเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายของผู้หญิงกลับมีไม่มากเท่าที่
สิทธิที่มี เนื่องจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศยังคงมีอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโอกาสการมีส่วนร่วมของผู้หญิง
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของผู้หญิงด้วย ข้อก�าหนดต่างๆ ของ CEDAW จะเป็นสะพานเชื่อมโยงการประกัน
สิทธิพลเมืองกับสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมของผู้หญิงเข้าด้วยกัน ผ่านกฎหมาย นโยบาย มาตรการ
พิเศษชั่วคราว และมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงข้อเสนอแนะต่อประเทศภาคี เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
ที่เกิดขึ้น
14 ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้