Page 23 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 23

•   ภรรยาไม่ควรปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์กับสามี แต่ให้สามีเล้าโลมด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องการให้ความรัก
              ความอบอุ่น เติมเต็มชีวิตสมรสและความเป็นครอบครัว

                     •   อิสลามไม่ได้ค�านึงความรู้สึกและสิทธิของผู้ชายเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการกระท�าที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
              หรือผลร้ายและเอาใจใส่ความต้องการผู้หญิงด้วย เช่น การไม่สนับสนุนให้ผู้ชายไปรบนานเกิน ๔ เดือน เนื่องจาก
              ผู้หญิงก็ต้องการได้รับความอบอุ่นจากผู้ชายด้วยเช่นกัน

                     •   มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ ไม่ว่าหญิงหรือชาย คือ ตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าบนหน้าแผ่นดิน (ค่อลีฟะตุ้ลเลาะฮ์)
              ทุกชีวิตจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ ละเมิดมิได้  ดังนั้น การปฏิบัติตัวในแต่ละวันของมนุษย์ถือเป็นการท�าคุณงามความดี
                                              ๗
              ในฐานะตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าด้วย มุสลิมทุกคนทั้งหญิงและชายจึงต้องตระหนักถึงการปฏิบัติตัวในชีวิตประจ�าวัน
              ของตนให้สอดคล้องกับหลักการของศาสนา และพระผู้เป็นเจ้าทรงมองเห็นทุกการกระท�านั้น

                     •   เป้าหมายการมีชีวิตอยู่ของมุสลิมมิใช่การอยู่กับความสุดโต่ง แต่ต้องมี “ความเป็นประชาชาติสายกลาง
              (วะสะฏียะฮ์)” ที่ไม่ท�าให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น ไม่ทรมานตนเอง เพราะร่างกายมีสิทธิ์เหนือตัวเรา และภรรยา สามี หรือ
              ญาติพี่น้องก็มีสิทธิ์เหนือตัวเรา

                     •   มุสลิมต้องไม่เลือกที่จะปฏิบัติดีเฉพาะต่อคนมุสลิมเท่านั้น แต่ยังต้องกระท�าความดีต่อผู้ไม่ใช่มุสลิมด้วย
              อย่างไรก็ตาม จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป  ผู้หญิงมุสลิมยังคงถูกละเมิด ถูกท�าร้าย และไม่ได้รับความยุติธรรม
              ในหลายกรณีมีการอ้างเหตุผลทางศาสนาเพื่อรับรองการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยไม่ค�านึงถึงบริบทซึ่งระบุถึง

              ที่มาและเจตจ�านงของการบัญญัติค�าสอนทางศาสนาอิสลาม ผู้หญิงมุสลิมจึงยังคงเผชิญกับความรุนแรงโดยบุคคล
              รอบตัวทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ เช่น การกล่าวอ้างถ้อยค�าจาก อัล-กุรอานที่ว่า “จงเฆี่ยนนาง” มาใช้

              ในการตีความรับรองความชอบธรรมในการที่สามีเฆี่ยนตีภรรยาว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามอนุญาต หรืออีกนัยหนึ่ง
                                                                             ๘
              เป็นการใช้ตรรกะที่ท�าให้ผู้ชายมีความชอบธรรมที่จะท�าร้ายหญิงที่เป็นภรรยา
                     ผศ.ดร. อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข ยกตัวอย่างถึงประเพณีวัฒนธรรมในบางพื้นที่ว่ามีอิทธิพลต่อการลดทอนสิทธิ

              ของผู้หญิงเช่นกัน  ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือในบางภูมิภาคอื่นการให้ค่าสมรส (มะฮัรฺ) ซึ่งเป็นทรัพย์สินหรือ
              ของขวัญที่เจ้าบ่าวมอบให้กับเจ้าสาวโดยพ่อและแม่เจ้าสาวไม่มีสิทธิใดในค่าสมรสนั้น ได้ถูกก�าหนดไว้เพียงแค่

              ๑๒๕ บาท มาจากฐานคิดค�านวณจากค่าสมรสซึ่งท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ให้แก่บิดาของเจ้าสาว ๕๐๐ ดิรฮัม
              ซึ่งครูบาอาจารย์ตั้งแต่ในอดีตได้แปลเงินจ�านวนดังกล่าวเป็น ๕๐๐ สลึง หรือเท่ากับ ๑๒๕ บาท และยึดติดกับค่าของ
              เงินจ�านวนนั้นมาตลอด ในขณะที่ค่าของเงินได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบันจนไม่สามารถเทียบกับค่าเงินเดิม

              ได้อีกต่อไป ๙
















              ๗ โดยหลักค�าสอนของอิสลาม ชีวิตมนุษย์ทุกชีวิตมีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้น หลักการอิสลามจึงอนุญาตให้ท�าสงครามในกรณีเพื่อปกป้องตนเองจากการถูกรุกรานเท่านั้น
                ไม่ใช่เพื่อรุกรานผู้อื่น และการที่มักมีการแปลความหมายของค�าว่า “ญิฮาด” ว่า คือ การท�าสงครามศักดิ์สิทธิ์นั้น โดยหลักค�าสอนของอิสลามแล้ว สงครามไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจาก
                การท�าสงครามมักมีการท�าลายชีวิตของมนุษย์
              ๘ คือ การใช้ตรรกะแบบชัยฎอน (ตรรกะที่”ยกตนเหนือสิ่งสร้างอื่นของพระผู้เป็นเจ้า”) โดยท�าตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่สามารถท�าร้ายภรรยาของตนได้ โดยอ้างว่าเพื่อให้มารร้ายออกจากตัวนาง
                ทั้งๆ ที่ในทัศนะอิสลาม อ�านาจสูงสุด คือ อ�านาจอัลลอฮ์ ไม่ใช่อ�านาจผู้ชาย
              ๙ ผศ.ดร. อับดุลเลาะ หนุ่มสุข ผู้ทรงคุณวุฒิ ส�านักจุฬาราชมนตรี และผู้อ�านวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา ส�านักจุฬาราชมนตรี


                12     ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28