Page 24 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 24
ดังนั้น หากจะให้มุสลิมตระหนักถึงเจตนารมณ์ของศาสนาอิสลามก็ไม่อาจปฏิเสธบทบาทส�าคัญของผู้วินิจฉัย
หลักการศาสนา ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสายเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม หากนักการศาสนาเหล่านี้มีความเข้าใจ การพูดคุยกัน
ในประเด็นละเอียดอ่อนหรือประเด็นร่วมสมัยอื่นๆ ก็จะสามารถท�าได้ง่ายขึ้น โดยหากเราสามารถที่จะท�าความเข้าใจ
ว่าหลักการศาสนาอิสลามเป็นเรื่องของการตีความ ซึ่งอาจถูกวัฒนธรรม จารีต หรือประเพณีบางประการตามพื้นที่
ต่างๆ เข้ามาแฝงอยู่จนถูกท�าให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า สิ่งเหล่านั้นคือแก่นของศาสนา การท�าความเข้าใจและคลี่คลาย
ประเด็นความเป็นมาในส่วนนี้ จะช่วยให้บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
๑๐
ส�าหรับตัวผู้หญิงเอง ซึ่งยังต้องเผชิญกับการตีความตามวัฒนธรรม จารีต หรือประเพณีในแต่ละพื้นที่ก็ต้อง
๑๑
ตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ที่ต้องมีความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ต้องมีความกล้าหาญ ลุกขึ้นมาช่วยกันต่อสู้
๑๒
เพื่อความยุติธรรม โดยต้องตระหนักถึงคุณค่าของตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความเป็นธรรม นอกจากนี้
๑๓
ยังต้องศึกษาทั้งหลักศาสนาและมีความรู้เท่าทันการตีความ ว่าข้อบัญญัติทางศาสนาที่น�ามาใช้จะต้องไม่ขัดกับ
บทบัญญัติส่วนอื่นๆ ของอัล-กุรอาน และต้องสอดคล้องกับหลักศาสนา ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องความรักและความเมตตาเป็น
หลักเพื่อที่ผู้หญิงจะกล้าตั้งค�าถามเพื่อโต้แย้งผู้น�าศาสนาหากตัดสินข้อศาสนาไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับที่ผู้หญิง
ในประวัติศาสตร์อิสลามได้เคยทักท้วงผู้น�าศาสนาในยุคนั้นมาแล้ว
๑๔
๑๕
๒.๒ หลักสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
หลักสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงเป็นหลักการส�าคัญตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุก
รูปแบบของสหประชาชาติ (UN Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against
Women - CEDAW) ซึ่งเป็นอนุสัญญาฉบับแรกที่เจาะจงคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ถูกเลือกปฏิบัติ นอกเหนือ
จากกระแสการคุ้มครองสิทธิในยุคแรกๆ คือ สิทธิพลเมือง หรือ สิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม อนุสัญญานี้ถือว่า
ความเป็นมารดาเป็นภาระหน้าที่ทางสังคม การเลี้ยงดูบุตรก็เป็นหน้าที่ของทั้งหญิงและชาย และมุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ของผู้หญิงครอบคลุมสิทธิทางพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สหประชาชาติให้การรับรอง CEDAW
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาแล้วทั้งสิ้น ๑๙๙ ประเทศ
๑๖
รวมทั้งประเทศไทย นับเป็นหนึ่งในอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีประเทศที่เป็นภาคีมากที่สุด
การเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ หมายถึง การที่ประเทศที่เป็นภาคียอมรับว่ามีการเลือกปฏิบัติและความ
ไม่เสมอภาคของผู้หญิง ยอมรับถึงความจ�าเป็นที่รัฐต้องแก้ปัญหาโดยการด�าเนินการหรือละเว้นการด�าเนินการใดๆ
และยินดีที่จะรับผิดชอบในระดับประเทศและประชาคมโลก ในการด�าเนินงานตามพันธกรณี จ�าเป็นอย่างยิ่งที่รัฐภาคี
ต้องชัดเจนในหลักการส�าคัญของ CEDAW ๓ ประการ ซึ่งให้กรอบในการก�าหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มความก้าวหน้า
ด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง คือ ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ และพันธกรณีของรัฐ
๑๐ ค�าบรรยายของ ดร.อัมพร หมาดเด็น สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ส�านักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดท�าแนวปฏิบัติในการคุ้มครอง
และส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ที่จังหวัดปัตตานี
๑๑ ที่จะยืนยันว่า “ฉันคือ ค่อลีฟะตุ้ลลอฮ์”
๑๒ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า “ต้องต่อสู้เพื่อความยุติธรรมถึงแม้จะเป็นอันตรายต่อเรา”
๑๓ อัล-กุรอาน (๑๑ : ๑๓) อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า “อัลลอฮ์จะไม่ทรงเปลี่ยนคนกลุ่มใด นอกจากพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน”
๑๔ ในประวัติศาสตร์อิสลาม ผู้หญิงได้เคยตั้งค�าถามโต้แย้งท่านอุลามะอ์ (ผู้รู้ทางศาสนา) ที่ก�าลังจะตัดสินข้อศาสนาที่ละเมิดสิทธิที่อัลลอฮ์ทรง ให้แก่ผู้หญิง (โดยจะตัดสินให้ผู้หญิง
เป็นฝ่าย ผิดและให้ลดจ�านวนสินสอดที่เรียกร้องจากชายลง) จนผู้น�าศาสนาท่านนั้นต้องยอมจ�านนต่อข้อโต้แย้งของผู้หญิง ตัดสินให้ผู้ชายเป็นฝ่ายผิด ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูก
๑๕ https://cedaw.iwraw-ap.org/cedaw/cedaw-principles/
๑๖ https://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=TREATY&mtdsg_no=IV-8&chapter=4&lang=en
ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 13