Page 22 - ข้อเสนอแนะการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
P. 22

๒




                               หลักอิสลามที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ


                         และ หลักสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง:  ความจริงที่ถูกมองข้าม



               ๒.๑ หลักอิสลามกับความเสมอภาคระหว่างเพศ   ๕
                      ผศ.ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี ผู้อ�านวยการสถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

               กล่าวว่าสังคมมุสลิมในปัจจุบันมีปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงถูกกระท�าด้วย
               ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ทั้งโดยคนใกล้ชิดและบุคคลอื่นเช่นเดียวกับ

               สังคมอื่นๆ ทั่วโลก แต่กลุ่มมุสลิมส่วนน้อยบางกลุ่มที่นิยม ความรุนแรงสุดโต่ง
               กอปรกับการบิดเบือนอิสลามด้วยภาพลวงตาต่างๆ โดยสื่อตะวันตกท�าให้
               อิสลามกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรง ความโหดร้ายและการกดขี่

               ผู้หญิงมากขึ้น ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอิสลามมีความงดงามมากมาย มีความรัก
               ความเมตตา ความเคารพและให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียม รวมทั้ง

               ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย การอยู่ร่วมกันกับผู้คนต่างศาสนาอย่าง
               สันติไม่ยอมรับความรุนแรงอย่างไร้เหตุผลและไร้ขอบเขตในทุกรูปแบบ
               (ดูภาคผนวก ๑)




                                                          ผศ.ดร. อับดุลเลาะห์ หนุ่มสุข ผู้ทรงคุณวุฒิ ส�านักจุฬาราชมนตรี
                                                 ยืนยันว่าท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ให้ความส�าคัญต่อผู้หญิงอย่างยิ่ง

                                                 โดยท่านศาสดาได้กล่าวว่า สิ่งที่ประเสริฐที่สุดของโลกนี้ คือ ผู้หญิง
                                                 ที่มีคุณธรรมอันจะสามารถสร้างโลกได้ และในการเทศนาครั้งสุดท้าย
                                                 ของท่าน ท่านศาสดาฯ ได้กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์แล้ว

                                                 โดยท่านได้กล่าวประโยคหนึ่งที่นับเป็นประโยคทองต่อผู้คนจ�านวนมากว่า
                                                 “ท่านทั้งหลายจงดูแลผู้หญิงให้ดี”

                                                          ผศ.ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี สรุปว่าหลักการอิสลามเป็นหลัก
                                                 การที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ คือ


                      •   หากผู้หญิงไม่พร้อมทางร่างกายหรือจิตใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ผู้ชายจะต้องไม่บังคับให้ผู้หญิงมี
               เพศสัมพันธ์ด้วย
                            ๖


               ๕ ค�าบรรยาย ผศ.ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี ผู้อ�านวยการสถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม
                 ของผู้หญิงมุสลิม ธันวาคม ๒๕๕๗ ที่จังหวัดปัตตานี

               ๖ วรรคตอนหนึ่งในอัล-กุรอานระบุว่า ผู้หญิงคือแหล่งเพาะปลูก (อยากท�าอะไร เมื่อไหร่ก็ได้) นั้น อุลามะอ์ (ผู้รู้) บอกว่าการจะพิจารณาว่าจะท�าอะไรกับผู้หญิงก็ได้ตามอัล-กุรอานนั้น
                 ต้องดูเจตจ�านงของอายะฮ์ (วรรคตอน) ที่ลงมาพร้อมบริบทต่างๆ ส�าหรับอายะฮ์นี้ มีลงมาเพื่อตอบค�าถามของศ่อฮาบะฮ์ (อัครสาวกของท่านศาสดา) คนหนึ่งที่ถามท่านศาสดามุฮัมหมัด
                 ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยท่านั้นท่านี้ได้ไหม ความหมายของอายะฮ์นี้ คือ จะใช้ท่าไหนก็ได้ อย่างไรก็ตาม เชคฮุษัยนี ได้ฟัตวา (วินิจฉัย) ว่าหากผู้หญิงไม่พร้อมทางร่างกายหรือจิตใจที่จะ
                 มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ผู้ชายจะต้องไม่บังคับให้ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ด้วย


                                                  ข้อเสนอแนะ การเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  11
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27