Page 26 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 26

รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
        ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน


        โดยมีการก�าหนดด�ารงหลักการ ระเบียบข้อบังคับ และการพิจารณาในการส่งเสริม
        ปกป้องและการจัดการเกี่ยวกับกิจการการลงทุนของต่างชาติที่เกิดขึ้นภายใน
        ประเทศลาว โดยรูปแบบการลงทุนของต่างชาติมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1) ความ
        ร่วมมือทางธุรกิจตามเงื่อนไขสัญญา (Business Cooperation by Contract) 2) การ
        ลงทุนร่วมระหว่างผู้ลงทุนต่างชาติและผู้ลงทุนภายในประเทศ  (Joint  ventures
        between foreign and domestic investors) และ 3) กิจการการลงทุนของต่างชาติ
        โดยสมบูรณ์ (One Hundred Percent Foreign Owned Enterprise)

               การประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  (Environmental  Protection
        Law: EPL) ในปี 2542 ต่อมามีการประการใช้กฎกระทรวงเรื่องการประเมินผลกระทบ
        สิ่งแวดล้อม (The EIA Regulation) เป็นครั้งแรกในปี 2543 และได้รับการปรับปรุงเป็น
        กฤษฎีเรื่องการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  (The EIA Decree) ในปี 2553
        ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Min-
        istry of Natural Resources and Environment: MONRE) การมีกฎหมายด้านสิ่ง
        แวดล้อมในด้านหนึ่งเป็นการให้รับรองโครงการต่าง  ๆ  ในการผ่านกฎเกณฑ์ด้านสิ่ง
        แวดล้อม  หากแต่ในทางปฏิบัตินั้นยังคงมีช่องว่างในกระบวนการการประเมินผลกระ
        ทบทางสิ่งแวดล้อมของประเทศลาว  ดังตัวอย่างเช่น  ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลระหว่าง

        กระบวนการการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สาธารณชนรับทราบในวง
        กว้างดังเช่นที่เกิดกับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน�้าไซยะบุรี


        การสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศเมียนมา


        การลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมา  โดยเฉพาะในกิจการด้านการขุดเจาะน�้ามัน
        ก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ มีการลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อบรรยากาศทางการ
        เมืองภายในประเทศเริ่มเปิดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี  2553  ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป
        รัฐบาลเมียนมาได้เริ่มก�าหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะ

        ที่ส�าคัญ ได้แก่
        แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2554-2574) ในปี 2553 รัฐบาล
        เมียนมาได้ประกาศ “การปฏิรูปประเทศ” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


        22
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31