Page 25 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 25
สถานภาพการตรวจสอบโครงการ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การสนับสนุนจากภาครัฐของ สปป.ลาว
รัฐบาล สปป.ลาว ได้วางยุทธศาสตร์ระดับประเทศที่ส�าคัญไว้ 2 ด้าน ซึ่งน�ามาสู่การ
เปิดโอกาสให้นักลงทุนจากต่างประเทศซึ่งรวมทั้งไทยด้วย สามารถเข้ามาลงทุนใน
กิจการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ที่ก�าหนดไว้ ได้แก่
ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตและขจัดความยากจนแห่งชาติ (National Growth
10
and Poverty Eradication Strategy: NGPES) เป็นกรอบการพัฒนาประเทศที่มาจาก
แนวคิดของการประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (Party Congress) ครั้งที่ 6 ใน
ปี 2539 ที่ต้องการพัฒนาประเทศในระยะยาวเพื่อให้หลุดพ้นจากฐานะการเป็นประเทศ
ด้อยพัฒนา (Least Developed Countries) ภายในปี 2563 โดยเน้นการลงทุน
อุตสาหกรรมประเภทโครงการไฟฟ้าพลังน�้า เหมืองแร่ การท่องเที่ยว การแปรรูปไม้และ
สินค้าเกษตร ในระยะแรกรัฐบาลลาวได้ให้ความส�าคัญกับการลงทุนในโครงการไฟฟ้า
พลังน�้าน�้าเทิน 2 และเหมืองแร่ เป็นอย่างมาก
ยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรีแห่งเอเชีย (Battery of Asia) เพื่อหารายได้เข้า
ประเทศจากอุตสาหกรรมด้านพลังงาน โดยการผลิตกระแสไฟฟ้าและขายให้แก่ประเทศ
ต่างๆในทวีปเอเชีย ด้วยเป้าหมายคือ การขยายฐานผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมดจ�านวน
24,022 เมกะวัตต์ และต้องการขายไฟฟ้าไปยังต่างประเทศประมาณ 20,400 เมกะวัตต์
(ร้อยละ 85 ของก�าลังผลิตทั้งหมด) ภายในปี 2573ซึ่งโครงการเขื่อนไฟฟ้าไซยะบุรี คือ
โครงการด�าเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ของรัฐบาลลาวในปัจจุบัน
นอกจากนั้นรัฐบาลลาวยังได้ออกกฎหมายที่ส�าคัญบางฉบับเพื่อเอื้อส�าหรับการลงทุน
ภายในประเทศได้แก่
กฎหมายการส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ (Law on the Pro-
motion of Foreign Investment) ฉบับล่าสุดถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2547
10
National Growth and Poverty Eradication Strategy http://www.la.undp.org/content/lao_pdr/
en/home/library/poverty/NGPES.html
21