Page 23 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 23
สถานภาพการตรวจสอบโครงการ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรมสรรพากร มีบทบาทในการท�าความตกลงด้านการยกเว้นการเก็บ
ภาษีซ�้าซ้อนกับประเทศต่าง ๆ เช่น อนุสัญญาฯที่มีผลบังคับใช้แล้วกับเมียนมา เมื่อ
วันที่ 15 ส.ค. 2554, มอริเชียส เมื่อ 10 มิถุนายน 2541, ลาว เมื่อ 23 ธันวาคม 2540,
สิงคโปร์ เมื่อ 27 เมษายน 2519, ฮ่องกง 7 ธันวาคม 2548 เป็นต้น
ในด้านนโยบายนั้น รัฐบาลไทยได้พัฒนากรอบความตกลงต่าง ๆ กับประเทศกลุ่ม
CLMV เพื่อให้เกิดทั้งการลงทุนโดยตรงของไทย และส่งเสริมการค้าขายระหว่าง
ประเทศมากขึ้น เช่น
การท�าความตกลงการซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทั้ง
รัฐวิสาหกิจไฟฟ้า และบริษัทต่าง ๆ จากไทยเข้าไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อส่งขาย
กลับมายังไทย ได้แก่ ความตกลงระหว่างไทย-ลาว ซื้อขายไฟฟ้าปริมาณ 9,000 เมกะ
วัตต์ ลงนามเมื่อ 6 กันยายน 2559, ความตกลงระหว่าง ไทย-เมียนมา ซื้อขายไฟฟ้า
ปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ลงนามเมื่อ 4 กรกฎาคม2540 ปัจจุบันไทย-เมียนมา ก�าลัง
เริ่มเจรจาเพื่อลงนามในความตกลงฉบับใหม่
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงระหว่างกัมพูชา ลาว
เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic
Cooperation Strategy: ACMECS) ลงนามวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม
ประเทศเมียนมาเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้ง
ขึ้นเพื่อด�าเนินความร่วมมือใน 8 สาขา ได้แก่ 1. การอ�านวยความสะดวกการค้าการ
ลงทุน 2. การเกษตร 3. อุตสาหกรรมและพลังงาน 4. การเชื่อมเส้นทางคมนาคม
5. การท่องเที่ยว 6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 7. สาธารณสุข และ 8. สิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน�้าลึกทวายในเมียนมากับท่าเรือ
แหลมฉบังของไทย นับเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์นี้
19