Page 21 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 21
สถานภาพการตรวจสอบโครงการ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นโยบายสนับสนุนการลงทุนของรัฐบาล
นโยบายของรัฐบาลไทย
ปัจจัยที่ผลักดันให้นักลงทุนไทยเข้าลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนอก
5
เหนือจากสาเหตุ 4 ประการ ที่ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้
ท�าการส�ารวจ ได้แก่ เพื่อแสวงหาตลาดใหม่หรือรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิมในประเทศ
ที่มีตลาดขนาดใหญ่หรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูง (Market Seeking), เพื่อแสวงหา
ทรัพยากรธรรมชาติและเข้าถึงวัตถุดิบและแรงงานที่ถูกกว่าในประเทศ (Resource
and Labor Seeking), เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวมถึงการแสวงหาเทคโนโลยี
ใหม่ๆ (Efficiency Seeking) และเพื่อช่วยในด้านการกระจายความเสี่ยงของภาค
ธุรกิจแล้วนั้น การสนับสนุนของรัฐไทย ทั้งในเชิงนโยบาย และผ่านกลไกของรัฐ
ก็เป็นส่วนส�าคัญในการสร้างความมั่นใจในการไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น
ส�านักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
(องค์การมหาชน) หรือ สพพ. (Neighbouring Countries Economic Development
Cooperation Agency (Public Organization): NEDA) ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 17
พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและ
ประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ, การให้ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจ
กับประเทศเพื่อนบ้านเช่น การจัดท�ารายงานยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศ
6
เพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และเมียนมา รวมทั้ง
7
การสนับสนุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน�้าลึกทวาย ให้เป็น
โครงการหลักในแผนงานของ NEDA
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีบทบาทในการก�าหนดนโยบายการเคลื่อน
ย้ายเงินทุนเข้าออก ซึ่งล่าสุดในเดือนเมษายน 2558 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้
ท�าการผ่อนคลายเงินทุนไหลเข้าออกเพิ่มเติมภายใต้แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้าย
5 รายงานการลงทุนทางตรงในต่างประเทศของบริษัทจดทะเบียนไทย ปี 2558 , ฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย มิถุนายน 2559
6
ส�านักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน), ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ
กับประเทศเพื่อนบ้าน, เข้าถึงได้จาก http://www.neda.or.th/home/download-with-thumb.php?id=192
17