Page 30 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 30
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปัจจุบันกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศฉบับล่าสุดที่ใช้คือ Unified Enterprise
Law และ Common Investment Law ประกาศใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2548
กฎหมายการลงทุนของเวียดนามค่อนข้างชัดเจนและเอื้อประโยชน์
แก่นักลงทุน โดยรัฐบาลส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและยืนยันที่จะไม่ยึดกิจการเป็น
ของรัฐ รวมทั้งอนุญาตให้ส่งเงินทุนและก�าไรกลับประเทศได้ รัฐบาลจะไม่เก็บภาษี
เครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุก่อสร้างที่น�าเข้ามาเพราะผลิตสินค้าส่งออก นอกจากนี้
ยังมีการปรับปรุงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการอนุมัติโครงการลงทุนจากต่างชาติ โดยใช้
ระบบ “One-Stop Service” เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าเกี่ยวกับการขออนุญาตลงทุน
รัฐบาลเวียดนามมีการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมและควบคุมการลงทุนใน
เวียดนามหลายมาตรการ ดังนี้
มาตรการด้านภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เริ่มปี 2552 อัตรามาตรฐานร้อยละ 25 (เท่ากัน
ทั้งบริษัทเวียดนามและบริษัทต่างประเทศ)
ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริม อัตราภาษีเป็นไปตามใบอนุญาต เช่น ร้อยละ
10 หรือ 20 ในกรณีที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น 2-4 ปี การยกเว้นให้เริ่มนับตั้งแต่
ปีที่มีก�าไร (ไม่ใช่ปีที่เริ่มด�าเนินการ)
ในการโอนก�าไรกลับประเทศ สามารถท�าได้เป็นรายไตรมาส และไม่ต้อง
เสีย Withholdings Tax
ระหว่างไทย และเวียดนาม มีกฎหมายยกเว้นการเก็บภาษีซ�้าซ้อนส่วน
RE-Investment ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีหรือคืนภาษีให้
การจัดตั้งเขตส่งเสริมการส่งออก และเขตพื้นที่อุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบัน
เวียดนามมีเขตส่งเสริมการลงทุน 2 ประเภท คือ Export Processing Zone (EPZ)
และ Industrial Zone (IZ) โดยเฉพาะในนครโฮจิมินห์ ไฮฟอง ฮานอย ฯลฯ เพื่อดึงดูด
นักลงทุนจากต่างชาติ โดยก�าหนดอัตราภาษีที่ต�่าเป็นพิเศษ ส�าหรับธุรกิจที่เข้าไป
ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้ง 2 ประเภท
26