Page 24 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 24

รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
        ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

        การสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศกัมพูชา


               ในด้านภาพรวมของประเทศกัมพูชา ภายหลังสงครามภายในยุติลงและนับแต่มีการ
        เลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2536 เป็นต้นมา กัมพูชาได้ท�าการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ
        อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน เห็นได้จากการที่รัฐบาลกัมพูชาได้จัดท�าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
        สังคมแห่งชาติ (Socio-Economic Development Plan) ยุทธศาสตร์ลดความยากจนแห่งชาติ
        (National Poverty Reduction Strategy) แผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ (National Strat-
        egy Development Plan) ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยมเพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอ

        ภาค และประสิทธิภาพในกัมพูชา (Rectangular Strategy for Growth, Employment,
        Equity and Efficiency in Cambodia) รวมถึงก�าหนดเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
        ของสหประชาชาติ (Cambodia’s Millennium Development Goals)
               ทั้งนี้นอกจากแผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ก�าหนดขึ้น รัฐบาลกัมพูชา
        ยังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเข้ามาช่วยเสริม  อาทิ  นโยบายการค้าแบบเสรีโดยใช้กลไก
        ตลาดเปิดโอกาสให้แข่งขันอย่างเสรี เป็นหนึ่งช่องทางที่จะระดมทุนจากต่างประเทศเข้ามา
        โดยการช่วยแนะแนวทางการค้าแก่นักธุรกิจและนักลงทุนทั้งในและต่างชาติให้ประกอบ
        ธุรกิจอย่างสอดคล้องกับทิศทาง นโยบาย และกฎหมายของกัมพูชา รวมถึงการปรับปรุง

        การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและส่งเสริมบรรยากาศการค้า
        การลงทุนในกัมพูชา  อันจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของ
        ประเทศเติบโตรุดหน้าได้มากที่สุด
               โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมอ้อยและน�้าตาลนั้น วิธีการหนึ่งที่รัฐบาล
        กัมพูชาใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็คือการให้สัมปทานที่ดิน
        ทางเศรษฐกิจ  โดยเชิญชวนให้ภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศเข้ามาลงทุนปลูกพืช
        อุตสาหกรรมทางการเกษตร รวมทั้งแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้
        และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries – MAFF) ของกัมพูชา
        จะเปิดให้ยื่นขอสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจตามกฤษฎีกาว่าด้วยสัมปทานที่ดินทาง
        เศรษฐกิจปี 2548 (Sub-decree on Economic Land Concessions) ประกอบกับ

        กฎหมายที่ดินกัมพูชา (Land Law) ปี 2544 ซึ่งได้ก�าหนดหลักเกณฑ์การขอสัมปทาน
        และการอนุมัติสัมปทานที่ดินทางเศรษฐกิจไว้ค่อนข้างชัดเจน



        20
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29