Page 94 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 94
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
กรณีที่ ๑๖ กรณีการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานของประเทศไทย
กสม. ได้พิจารณาด�าเนินการเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานเพื่อจัดท�าข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
และข้อเสนอแนะนโยบายการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานของประเทศไทย อันเป็นสิทธิมนุษยชน
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประกอบกับการพิจารณาทบทวนการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ด้วยเหตุผลว่าประเทศไทยก�าลังจะขาดแคลนพลังงาน จ�าเป็นต้อง
มีการส�ารวจขุดเจาะเพื่อค้นหาและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น โดยเร่งด�าเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ ครั้งที่ ๒๑ บทที่ ๒
ซึ่งเป็นประเด็นที่สมควรจะต้องมีมาตรการแก้ไขเพื่อหาทางป้องกันมิให้ปัญหาความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้นเพราะอาจจะ
ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
การด�าเนินการ
กสม. ได้พิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูป
พลังงานไทย (คปพ.) ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงพลังงาน พบว่า รัฐบาลได้ด�าเนินนโยบาย
สาธารณะในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานของประเทศที่อาจขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนเท่าที่ควร
อันเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงระดับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจะมีผลต่อการกระตุ้นและส่งเสริม
ความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยโดยรวม อีกทั้งไม่สอดคล้องกับหลักการในพันธกรณีระหว่างประเทศ
คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
และตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และยังพบว่าความขัดแย้งจากการ
ด�าเนินการอันเป็นนโยบายสาธารณะในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นประเด็นส�าคัญ เนื่องจากประเทศไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน
ชนบทซึ่งมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ แต่ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นการพัฒนาสร้างความ
เข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรม ความขัดแย้งระหว่างการพัฒนากับสิทธิของประชาชนในพื้นที่จึงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหลัก
ปฏิบัติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติได้ก�าหนดความรับผิดชอบของรัฐในการคุ้มครองไม่ให้เกิด
การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากบุคคลภายนอกรวมทั้งที่เป็นบรรษัทการค้า นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลใน
เรื่องการบริหารจัดการด้านพลังงานของรัฐบาล และรัฐบาลควรพิจารณาระบบการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อ
ประชาชนให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต ระบบสัมปทาน หรือระบบอื่น ซึ่งจากการศึกษาวิจัย
พบว่าพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ใช้บังคับมาเป็น
ระยะเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม ทั้งในส่วนของระบบการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม
ที่มีอยู่อย่างจ�ากัด รวมถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการดูแล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ชัดเจน โดยกระบวนการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ ควรตระหนักถึงสิทธิการมีส่วนร่วม
และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและเร่งสร้างความเข้าใจที่ตรงกันแก่ทุกฝ่ายด้วยการน�าเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงอย่าง
รอบด้าน รวมถึงเปิดเผยข้อดีข้อเสียของระบบสัมปทานปิโตรเลียม ระบบแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม และระบบอื่น ๆ
เช่น รับจ้างการผลิต เพื่อให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและควรเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่ภาค
ประชาชนมากขึ้นในการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางการหาทางออกของปัญหาด้านพลังงานที่เป็นข้อตกลงร่วม
กันของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน กสม. จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการแก้ไขกฎหมายด้านพลังงานทั้งสองฉบับต่อไป
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 93