Page 95 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 95

ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย


                   ๑) คณะรัฐมนตรีควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และพระราชบัญญัติภาษี
           เงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยแก้ไขบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของระบบการบริหารจัดการทรัพยากร

           ปิโตรเลียมที่มีอยู่อย่างจ�ากัด รวมถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและ
           การดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่ชัดเจน และควรตระหนักถึงสิทธิการมีส่วนร่วมและสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
           และเร่งสร้างความเข้าใจที่ตรงกันแก่ทุกฝ่ายด้วยการน�าเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน อีกทั้ง เปิดพื้นที่สาธารณะให้
           แก่ภาคประชาชนในการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางการหาทางออกของปัญหาด้านพลังงานที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน

           ของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน


                   ๒) หากข้อเสนอในข้อ ๑) ไม่สามารถด�าเนินการได้ ควรพิจารณาถอนร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ....
           ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนี้ เพื่อน�ากลับมาทบทวนใหม่



                   ข้อเสนอแนะนโยบาย


                   ๑) คณะรัฐมนตรีควรพิจารณาน�าหลักปฏิบัติของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations

           Environment Programme : UNEP) คือ หลัก Guidelines for the Development of National Legislation on
           Access to Information, Public Participation and Access to Justice in Environmental Matters มาใช้ในการ
           ก�ากับดูแลภาคธุรกิจที่ได้รับสัมปทานจัดการพลังงานปิโตรเลียม ซึ่งการส�ารวจขุดเจาะพลังงานปิโตรเลียมมีผลกระทบต่อ
           สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน และควรพิจารณาให้ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการเข้าถึง

           ข้อมูล การมีส่วนร่วมสาธารณะในการตัดสินใจและการเข้าถึงความยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม (The Convention on
           Access to Information, Public Participation in Decision-Making and Access to Justice in Environmental
           Matters 1998) หรือ Aarhus Convention ซึ่งอนุสัญญานี้จะว่าด้วยเรื่องสิทธิที่เกี่ยวกับการจัดการโครงการของรัฐที่มี
           ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ๓ ประเด็น คือ ๑) การเข้าถึงข้อมูล ๒) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ และ ๓) การ

           เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ขณะนี้มี ๔๗ ประเทศ ที่เข้าเป็นภาคีแล้ว เพราะถ้าประเทศไทยให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติ
           อนุสัญญาฉบับนี้แล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยิ่ง เพราะอนุสัญญานี้จะวางกรอบว่า รัฐจะต้องตรากฎหมาย
           ภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาโครงการต่าง ๆ ของรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใน
           อนาคต เช่น โครงการสัมปทานปิโตรเลียมของรัฐที่ประชาชนอ้างว่ายังขาดธรรมาภิบาล และขาดการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้ง

           โครงการสร้างโรงไฟฟ้า


                   ๒) คณะรัฐมนตรีควรน�าหลักการของข้อตกลงโลก (Un Global Compact : UNGC) และหลักการชี้แนะของ
           สหประชาชาติ ว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nation Guiding Principles on Business and Human Rights

           : UNGPs) มาใช้กับภาคธุรกิจและสมควรเร่งให้มีการจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National
           Action Plan for the Business and Human Rights : NAP) เพื่อการปกป้องคุ้มครองและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                   ๓) คณะรัฐมนตรีควรก�าหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหลักการซึ่งประเทศไทยได้ให้การรับรองเป้าหมายการ

           พัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง
           สหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งมี ๑๗ เป้าหมาย โดยเป้าหมายที่ ๗ เป็นเรื่องเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งก�าหนด
           ว่ารัฐบาลต้อง “สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดในราคาที่ย่อมเยาและยั่งยืน”



            94  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100