Page 93 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 93
(๓) ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายพิจารณาจัดท�าแนวทางปฏิบัติ
ส�าหรับการจ้างแรงงานและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมายในภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีก และให้
แก้ไขมาตรการทางกฎหมาย เช่น กฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานในปัจจุบันให้มี
ความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริงทั้งนี้ ให้ด�าเนินการแก้ไขปัญหาภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
ข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(๑) คณะรัฐมนตรีควรเร่งน�าหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจตามกรอบงานขององค์การ
สหประชาชาติในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา (Guiding Principles on Implementing the UN Protect, Respect,
Remedy Framework for Business and Human Rights: UNGPs) มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร
(๒) คณะรัฐมนตรีควรเร่งรัดจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan
on Business and Human Rights: NAP) ตามที่คณะรัฐมนตรีรับทราบ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยน�าประเด็น
ปัญหาการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรตามค�าร้องนี้ ไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดท�าแผนเพื่อเป็นการแก้ไข
ปัญหาอย่างยั่งยืน
(๓) คณะรัฐมนตรีควรพิจารณาจัดท�าหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน
ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับงานเกษตรกรรมและงานอุตสาหกรรมการเกษตรทั้งระบบ โดยให้เป็นไปตามกติการะหว่าง
ประเทศด้านสิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม รวมถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่อง
นี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิแรงงานข้ามชาติอันเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหา
เกี่ยวกับการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กระทรวงแรงงานแจ้งผลด�าเนินการว่า ได้ด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย
มีนโยบายเกี่ยวกับการด�าเนินการให้ความคุ้มครองแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยึดหลัก “ความเสมอ
ภาคและเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ กรณีแรงงานต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่เข้าเมืองถูกกฎหมายหรือลักลอบเข้าเมือง
โดยผิดกฎหมายย่อมได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับแรงงานไทย” และให้ความคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงานให้ได้รับสิทธิตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานได้จัดท�าคู่มือตรวจแรงงานเพื่อป้องกันและแก้ไข
ปัญหาแรงงานบังคับและแรงงานขัดหนี้ จัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และทบทวนข้อกฎหมาย
ในเรื่องเกี่ยวกับค่าจ้างในวันหยุดประจ�าสัปดาห์ วัดหยุดตามประเพณี และเวลาพัก และมอบหมายให้คณะท�างานด้าน
กฎหมาย เป็นผู้พิจารณาด�าเนินการ ประสานข้อมูลฟาร์มไก่ และฟาร์มปศุสัตว์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการด�าเนินการ
ตรวจสอบ จัดท�าแนวปฏิบัติที่ดีส�าหรับอุตสาหกรรมฟาร์มไก่และสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีกในประเทศไทย จัดท�ายุทธศาสตร์
บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ การจัดท�าระบบแรงงานเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่
กับความต้องการจ�าเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ควบคุมก�ากับดูแลกระบวนการเข้ามาระหว่างการท�างานและกลับออกไปของ
แรงงานต่างด้าว ก�าหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล มีศูนย์ร่วมบริการช่วยเหลือแรงงาน
ต่างด้าวใน ๑๐ จังหวัด และมีบริการ Application DOE Help สายด่วน ๑๖๙๔ และเว็บไซต์ www.doe.go.th/helpme
เพื่อเป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น
92 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐