Page 92 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 92

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




            มาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๗๖  และมาตรา ๗๗ การกระท�าของผู้ถูกร้องในส่วนที่
            มีการน�าเอาค่าจ้างรายวันของผู้ร้องจ�านวนวันละ ๓๐๐ บาท
            ไปหักค่าเช่าบ้าน ค่าไฟฟ้า ค่าน�้า ค่าน�้าดื่ม ค่าเบิกเงินล่วงหน้า
            ค่าประกันสุขภาพงวดที่ ๒ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ระบุ

            รายละเอียดออกจากค่าจ้าง ท�าให้ผู้ร้องทั้ง ๑๔ คน ได้รับค่าจ้าง
            รายวันในอัตราเพียง ๒๓๐ บาท และกรณีที่ผู้ถูกร้องก�าหนด
            ให้วันพักเล้าเป็นเวลา ๓๐ – ๓๕ วัน นับรวมเป็นวันหยุดต่าง ๆ                                               บทที่ ๒
            โดยไม่ได้ตกลงกันล่วงหน้า เป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน

            ของผู้ร้องทั้ง ๑๔ คน อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
            แต่ขณะนี้ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับค่าตอบแทนในการท�างาน
            ของผู้ร้องทั้ง ๑๔ คน พนักงานตรวจแรงงานตามพระราช
            บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ใช้อ�านาจตามความ

            ในมาตรา ๑๒๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
            (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ มีค�าสั่งให้ผู้ถูกร้องจ่ายค่าจ้าง ค่าท�างานในวันหยุด ค่าล่วงเวลา และดอกเบี้ย ให้แก่ผู้ร้องทั้ง ๑๔
            คน แล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ และได้แจ้งค�าสั่งดังกล่าวให้นายจ้างและลูกจ้างทั้ง ๑๔ คน ทราบแล้ว ซึ่งหาก
            นายจ้างและลูกจ้างไม่พอใจค�าสั่งก็ชอบที่จะน�าคดีไปสู่ศาล ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันรับทราบค�าสั่ง



                     ประเด็นที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกร้องบังคับให้ท�างานล่วงเวลาตั้งแต่เวลา ๒๑.๐๐ – ๐๕.๐๐ นาฬิกา โดยไม่ให้
            หยุดพักและไม่จ่ายค่าล่วงเวลานั้น ค�าชี้แจงของผู้ถูกร้องตรงกับค�าชี้แจงของตัวแทนผู้ร้องที่ว่า ในหนึ่งวันจะนอนพักผ่อนใน
            เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ - ๐๓.๐๐ นาฬิกา จึงน่าเชื่อได้ว่านับตั้งแต่เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ - ๐๓.๐๐ นาฬิกา ผู้ร้องทั้ง ๑๔ คน

            ไม่ได้ท�างานล่วงเวลา ส�าหรับประเด็นที่กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องจ�ากัดเสรีภาพในการเดินทางของผู้ร้องทั้ง ๑๔ คน นั้น
            ไม่ปรากฏว่ามีการกระท�าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นดังกล่าว หรือเป็นการกระท�าที่มีลักษณะเป็นการบังคับใช้แรงงาน
            ตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑



                     ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีปัญหาเช่นนี้อีก คณะกรรมการ
            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเห็นควรให้เสนอมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราช
            บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อเสนอแนะนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา
            ๑๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ดังนี้



                     มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                     (๑) ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดท�าแนวปฏิบัติเพื่อให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม

            สัตว์ปีกได้ปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายตามหลักการสิทธิมนุษยชน และให้แรงงานดังกล่าวได้รับ
            ความคุ้มครองไม่ต่างจากแรงงานไทย โดยเฉพาะในเรื่องการจ่ายค่าจ้างและการจัดวันหยุดที่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครอง
            แรงงาน รวมทั้งให้ความรู้กับผู้ประกอบการและแรงงานอย่างรวดเร็วและสม�่าเสมอ



                     (๒) ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งก�าหนดมาตรการไม่ให้ผู้ประกอบการยึดหรือเก็บบัตร
            ประจ�าตัวและเอกสารส�าคัญของแรงงานไว้ หากจ�าเป็นจะต้องเก็บเอกสารดังกล่าวให้จัดเก็บได้เพียงส�าเนาเอกสารเท่านั้น
            ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิแรงงานข้ามชาติอันเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหา
            เกี่ยวกับการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์

                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 91
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97