Page 89 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 89

ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                   ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติแจ้งผลด�าเนินการว่า ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ต�ารวจที่ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบถือปฏิบัติว่า
           ก่อนด�าเนินการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมจากร่างกายไม่ว่าจะเป็นของผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เห็นควร

           ให้เจ้าหน้าที่ต�ารวจที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะต้องแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ต�ารวจ ให้แจ้ง ยศ ชื่อ นามสกุล ต�าแหน่ง
           และสังกัด พร้อมกับแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บหาสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ต่อบุคคลที่จะต้องถูกตรวจสอบทราบ โดยจะ
           ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่จะถูกตรวจหาสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) และหากเป็นเด็กหรือเยาวชนจะต้องได้รับความ
           ยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กหรือเยาวชนก่อนท�าการตรวจหาสารดังกล่าวด้วยทุกครั้ง และต้องเก็บรักษา

           ข้อมูลบุคคลที่เข้ารับการตรวจเป็นความลับส่วนบุคคล เพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการทาง
           ยุติธรรมให้กับประชาชนในพื้นที่


           กรณีที่  ๑๔  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข  กรณีกล่าวอ้างว่าคณะแพทยศาสตร์
           วชิรพยาบาล  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช  ย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพโดยไม่ได้รับความ

           ยินยอมของผู้ร้อง


                   ประเด็นร้องเรียน



                   ผู้ร้องได้ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
           (ผู้ถูกร้อง) มีหนังสือแจ้งเปลี่ยนสิทธิหลักประกันสุขภาพของผู้ร้องจากโรงพยาบาลวชิรพยาบาลให้ไปใช้สิทธิหลักประกัน
           สุขภาพที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิงซึ่งตั้งอยู่ห่างจากบ้านของผู้ร้องเป็นระยะทางประมาณ ๑๐

           กิโลเมตร จากเดิมที่ผู้ร้องได้ใช้บริการที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้านของผู้ร้องเป็นระยะทางประมาณ ๒๐๐
           เมตร โดยผู้ถูกร้องให้เหตุผลว่าเป็นโครงการลดความแออัดของผู้ป่วย และรักษาผู้ป่วยที่มีโรคซับซ้อน ผู้ร้องเห็นว่าไม่ได้รับ
           ความเป็นธรรม และไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรักษาพยาบาล เป็นการสร้างภาระเกินควร จึงขอให้ช่วยด�าเนินการ
           ให้ผู้ถูกร้องยกเลิกการกระท�าดังกล่าว และคืนสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลวชิรพยาบาลตามเดิม



                   การด�าเนินการ


                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้การเปลี่ยนสิทธิหลักประกันสุขภาพโดยผู้ถูกร้อง

           จะเป็นการด�าเนินการตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่จะให้คนไทยทุกคน
           ที่ไม่มีสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการหรือตามพระราชบัญญัติประกันสังคมได้เข้าถึงบริการสุขภาพโดยถ้วน
           หน้า โดยมีหลักการให้มีการสร้างเสริมสุขภาพและบริการตามล�าดับขั้นในลักษณะปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิก็ตาม แต่
           การด�าเนินการต่าง ๆ ของผู้ถูกร้องซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐควรจะต้องด�าเนินการโดยมีกฎหมายรองรับให้สามารถด�าเนิน

           การได้ หากพิจารณาตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ และข้อบังคับ
           คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการ พ.ศ.
           ๒๕๔๕ ข้อ ๕ และข้อ ๖ แล้ว ได้ก�าหนดให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขและประสงค์จะใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
           สามารถยื่นค�าขอลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจ�า หรือขอเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการประจ�าได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ บุคคล

           ผู้มีสิทธิรับบริการสาธารณสุขสามารถเลือกหน่วยบริการประจ�าที่อยู่ในพื้นที่ต�าบลหรืออ�าเภอที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
           หรือหน่วยบริการในพื้นที่ต�าบลหรืออ�าเภอที่ต่อเนื่อง โดยค�านึงความสะดวกและความจ�าเป็นของตนเป็นส�าคัญ ประกอบ
           กับไม่มีบทบัญญัติมาตราใดและข้อบังคับข้อใดตามพระราชบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าวให้หน่วยบริการสามารถย้าย



            88  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94