Page 88 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 88

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




            พันธุกรรมของบุตรชายผู้ร้องไปคนเดียว เพราะบุตรสาวร้องไห้ด้วยความตกใจ ในระหว่างเก็บสารพันธุกรรมได้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่
            บ้านในพื้นที่เข้ามาสังเกตการณ์ด้วย ผู้ร้องเห็นว่าการกระท�าของผู้ถูกร้องเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก จึงขอให้ตรวจสอบข้อเท็จ
            จริงเพื่อให้ความเป็นธรรมและเยียวยาผู้ร้องตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป


                                                          การด�าเนินการ



                                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้      บทที่ ๒
                                                 การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมบุตรของผู้ร้องที่ยังเป็นเด็กจะได้รับความ

                                                 ยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาก็ตาม แต่ควรจะต้องค�านึงถึง
                                                 ความจ�าเป็นและการคุ้มครองสิทธิเด็กเป็นส�าคัญ เมื่อพิจารณาในเรื่องการ
                                                 เก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
                                                 เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในทางกระบวนการยุติธรรมแล้ว พนักงานสอบสวนต้อง

                                                 ให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ด�าเนินการตรวจ อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธี
                                                 พิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑/๑ วรรคสอง ที่บัญญัติให้การด�าเนินการ
                                                 ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ควรกระท�าเพียงเท่าที่จ�าเป็นและสมควร ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับ
                                                 ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยต้องไม่กระทบกระเทือน

                                                 สาระส�าคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
                                                 ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ประกอบ
                                                 กับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
                                                 ดังนั้น การเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมที่ได้กระท�าต่อร่างกายของเด็ก แม้ว่า

                                                 จะได้รับการยินยอมจากมารดาในขณะนั้นก็ไม่อาจกระท�าได้ เพราะไม่ได้
                                                 ชี้แจงให้ทราบว่าจะน�าตัวอย่างสารพันธุกรรมของเด็กไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์
            ใด เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของเด็กหรือไม่ การกระท�าดังกล่าวจึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึง
            ก�าหนดมาตรการการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติพิจารณาด�าเนินการภายใน ๖๐ วัน ดังนี้



                     มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                     (๑) ก�าชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการด�าเนินการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม ที่ต้องกระท�าต่อเนื้อตัวและร่างกาย

            ของเด็ก ควรด�าเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายก�าหนดโดยต้องค�านึงถึงการคุ้มครองด้านสิทธิและประโยชน์สูงสุดของเด็ก
            เป็นส�าคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ และอนุสัญญา
            ว่าด้วยสิทธิเด็ก และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายทุกครั้ง



                     (๒) ก่อนด�าเนินการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมเจ้าหน้าที่ควรแสดงตน ต�าแหน่งหน้าที่และต้นสังกัด พร้อมชี้แจง
            วัตถุประสงค์ในการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมทั้งต้องเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ
            ส่วนบุคคล เพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการทางยุติธรรมให้กับประชาชนในพื้นที่












                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 87
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93