Page 87 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 87

มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                   (๑) ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยส�านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ถูกร้อง และ
           ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ประสานงานและบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้

           ผู้ร้องได้รับประโยชน์และสิทธิทางการศึกษาที่ควรได้ รวมทั้งให้การสนับสนุนเรื่องการศึกษาของคนพิการ โดยให้สอดคล้องต่อ
           ความต้องการจ�าเป็นพิเศษของคนพิการ ตามหลักการและเจตนารมณ์ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและพระราชบัญญัติ
           การจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕



                   (๒) ให้ผู้ถูกร้องแก้ไขปรับปรุงประกาศของผู้ถูกร้อง เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาใหม่มิให้ขัดต่อหลักการตามพระราช
           บัญญัติการจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕ และมาตรา ๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ
           ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๐ และให้สอดคล้องกับหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
           (Conventional on the Rights of  Persons with Disabilities - CRPD) ข้อ ๒๔  ส่วนที่ ๒ เพื่อให้คนพิการสามารถ

           เข้าถึงสิทธิทางการศึกษา


                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน



                   (๑) สถาบันการศึกษาทางไกล แจ้งว่าได้พิจารณาแก้ไขประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่ โดยปรับแก้ข้อความและ
           ตัดข้อความที่ก�าหนดคุณสมบัติอันเป็นการละเมิดสิทธิคนพิการออกแล้ว คือ ข้อความก�าหนดคุณสมบัติผู้สมัคร ข้อ ๓ จาก
           เดิม “สามารถเข้ารับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนในแต่ละภาคเรียน และเข้ารับการทดสอบทางการ
           ศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ได้ที่สนามสอบในประเทศไทย” เป็นข้อความใหม่คือ สามารถ

           เข้ารับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนในแต่ละภาคเรียน และเข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
           ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ในสนามสอบได้ และได้มีการตัดข้อความในข้อ ๕ ที่ระบุว่า “สามารถเดินทางมา
           ติดต่อหรือเข้าร่วมกิจกรรมตามที่สถาบันการศึกษาทางไกลก�าหนดได้ด้วยตนเองพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนตัวทุกประเภท
           ที่เกิดขึ้น” ออก



                   (๒) ส�านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แจ้งว่าได้รับทราบปัญหาของผู้ถูกร้องในเรื่อง
           สถานที่ศึกษาต่อ และทราบว่าผู้ร้องมีถิ่นพ�านักที่อ�าเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และจากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันผู้ร้อง
           ได้สมัครเข้าศึกษาต่อที่ กศน. อ�าเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี แล้ว ในภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๘ ซึ่งคาดว่าจะส�าเร็จการ

           ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๙ นี้


           กรณีที่ ๑๓ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีกล่าวอ้างว่าเด็กถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ
           ตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ในพื้นที่ต�าบลยะหา อ�าเภอยะหา จังหวัดยะลา



                   ประเด็นการร้องเรียน


                   ผู้ร้องได้ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ทราบ

           สังกัด (ผู้ถูกร้อง) จ�านวน ๓ คน เดินทางมายังบ้านของผู้ร้องและขอตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของบุตร
           ผู้ร้อง ซึ่งเป็นเด็กชายอายุ ๑๑ ปี และเด็กหญิงอายุ ๗ ปี และผู้ถูกร้องได้ให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอม
           ในการตรวจเก็บสารพันธุกรรม โดยไม่ได้แจ้งว่าจะตรวจเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด และได้เก็บสาร



            86  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92