Page 84 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 84
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
การด�าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ประกอบกับพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ก�าหนดมาตรการ
คุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่ง
สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ประเด็นการแต่งกายในการเข้าเรียน การเข้าสอบวัดผล และการฝึกปฏิบัติงาน
พิจารณาแล้วเห็นว่า การไม่อนุญาตให้นิสิตนักศึกษาแต่งกายตามเพศวิถีซึ่งไม่ตรงกับเพศก�าเนิดของตนเข้าเรียน เข้าสอบ บทที่ ๒
วัดผล และการฝึกปฏิบัติงาน ย่อมส่งผลให้นิสิตที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือเพศวิถีไม่ตรงกับเพศก�าเนิด รู้สึกถูกดูหมิ่นและ
ถูกลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตลอดจนเป็นเหตุให้มีการจ�ากัดสิทธิในการศึกษาของนิสิตกลุ่มนี้ การที่นิสิตนักศึกษาแต่งกาย
ตามวิถีทางเพศในลักษณะเรียบร้อยและถูกต้องตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการแต่งกายที่มหาวิทยาลัยได้ก�าหนดไว้
แม้ว่าการแต่งกายนั้นจะไม่ตรงกับเพศก�าเนิดก็ตาม ย่อมไม่ได้กระทบกระเทือนต่อนิสิตนักศึกษาอื่น ๆ ที่เข้าเรียนและเข้า
สอบวัดผล รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการทดสอบความรู้แต่อย่างใด ส�าหรับกรณีการก�าหนดให้บัณฑิตทุกคนต้องแต่งกายชุด
ครุยวิทยฐานะตามเพศก�าเนิดเท่านั้น เห็นว่าเป็นการกระท�าอันเป็นการจ�ากัดซึ่งการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศก�าเนิด
และกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิในการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์หรือตัวตนของผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งไม่ได้เป็นไป
เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนาแต่อย่างใด ดังนั้น
การกระท�าของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ผู้ถูกร้องที่ ๑) และมหาวิทยาลัยพะเยา (ผู้ถูกร้องที่ ๒) จึงเป็นการปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งเพศ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราช
บัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๓ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง ข้อ ๒ และไม่สอดคล้องกับหลักการยอกยาการ์ตา ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็น
วิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศข้อ ๒ ข้อ ๖ และข้อ ๑๙ จึงก�าหนดแนวทางการแก้ไขกรณีตามค�าร้องเรียน ตามมาตรา
๒๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ เสนอต่อผู้ถูกร้องที่ ๑ ผู้ถูกร้องที่ ๒
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาด�าเนินการภายใน ๖๐ วัน ดังนี้
แนวทางการแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
(๑) ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ผู้ถูกร้องที่ ๑) และมหาวิทยาลัยพะเยา (ผู้ถูกร้องที่ ๒) ที่ประชุม
อธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พิจารณา
แก้ไขหรือก�าหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ ข้อบังคับหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกายในการเข้าเรียน การ
เข้าสอบวัดผล การฝึกปฏิบัติงาน และการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของนิสิตนักศึกษาที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือวิถีทาง
เพศไม่ตรงกับเพศก�าเนิด ให้เป็นไปตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ และสอดคล้อง
กับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
(๒) ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ในฐานะ
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) และคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือก
ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) ประสานงานกับส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ประชุม
อธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง เพื่อก�าหนดแผนปฏิบัติงาน
เสริมสร้างความเข้าใจและเร่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอันจะน�ามาซึ่งการปฏิบัติอย่างเสมอภาคต่อ
นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถาบันอุดมศึกษา โดยเคารพต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวและปราศจากการเลือก
ปฏิบัติจากสาเหตุวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 83