Page 153 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 153

ได้มอบรายงานว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลมาจากการปิดล้อมกาตาร์ ซึ่งจัดท�าโดยสถาบันสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติของกาตาร์ โดยมีประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ส�าคัญ ได้แก่ การละเมิดสิทธิในการอยู่ร่วมกันของครอบครัว
           (right to family reunification) การละเมิดสิทธิในการศึกษา (right to education) การละเมิดสิทธิในการท�างาน (right
           to work) รวมทั้งการละเมิดสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาล เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการ

           เดินทาง เป็นต้น ทั้งนี้ ส�านักงาน กสม. ได้มีหนังสือไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแจ้งข้อห่วงกังวลด้านสิทธิมนุษยชน
           ของเอกอัครราชทูตกาตาร์ประจ�าประเทศไทย และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของกาตาร์แล้ว


                   ๕.๔.๓  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเดนมาร์ก



                          เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเดนมาร์กได้เข้าพบ นางประกายรัตน์
           ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับการด�าเนินการด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Business
           and Human Rights) และความก้าวหน้าในกระบวนการจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

           (National Action Plan on Business and Human Rights - NAP) ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบัน
           สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเดนมาร์กกับ กสม. ซึ่งทั้ง ๒ ฝ่าย เห็นชอบที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการด�าเนินงานที่เป็น
           ประโยชน์ระหว่างกันต่อไป



                   ๕.๔.๔  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของบังกลาเทศ


                          เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ คณะผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของบังกลาเทศได้เข้าพบผู้แทน
           ส�านักงาน กสม. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในการนี้ ผู้แทนส�านักงาน กสม. ได้บรรยายสรุปให้ฝ่ายบังกลาเทศ

           รับทราบอ�านาจหน้าที่ของ กสม. ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๖๐ กระบวนการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
           ว่าด้วย กสม. พ.ศ. .... และผลการด�าเนินงานที่ส�าคัญของ กสม. ในช่วงที่ผ่านมาพร้อมกับตอบข้อซักถามของฝ่ายบังกลาเทศ
           ในเรื่องกระบวนการและขั้นตอนในการรับเรื่องร้องเรียน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน
           ด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ตลอดจนแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ต่อไป



                   ๕.๔.๕  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเครือรัฐออสเตรเลีย


                          เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นางประกายรัตน์  ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้

           หารือข้อราชการกับ Mr. Tim Soutphommasane กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งก�ากับดูแลด้านการเลือกปฏิบัติ
           ทางเชื้อชาติของออสเตรเลีย ในโอกาสที่มาเยือนประเทศไทย โดยมีประเด็นส�าคัญของการหารือ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่
           ของสถาบันสิทธิฯ ของออสเตรเลียที่ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ๗ ด้าน การด�าเนินงานของออสเตรเลียในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา
           ที่ส�าคัญ ได้แก่ การจัดท�ากระบวนการไต่สวนระดับชาติ (National Inquiry) ว่าด้วยเรื่องเด็กในสถานที่กัก และสิทธิในการ

           ท�างานของผู้สูงอายุ การจัดท�ารายงานเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา และการท�างานร่วมกับภาคธุรกิจและ
           ภาคประชาสังคมในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
                   ในโอกาสนี้ ผู้แทน กสม. ได้แจ้งให้ฝ่ายออสเตรเลียทราบถึงแผนยุทธศาสตร์ของ กสม. ในช่วงปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕
           โดยภายใต้แผนการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๖๐ ได้ให้ความส�าคัญกับ ๓ ประเด็น คือ (๑) ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (๒) การ

           จัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดินและป่าไม้ และ (๓) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการคุ้มครองและส่งเสริม
           สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๖๐ และผลการจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่และ
           ขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความส�าเร็จที่ส�าคัญ



            152 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158