Page 155 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 155
ในประเทศไทย” ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่าง กสม. กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน (กกร.) เครือข่าย Global Compact Network Thailand ผู้แทนไทยใน AICHR
และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
ในการนี้ Mr. Michael Addo ประธานคณะท�างานฯ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมกระบวนการเตรียมการเพื่อจัดท�าแผน
ปฏิบัติการแห่งชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เนื่องจาก กสม. ได้เข้ามา
เป็นคนกลางในการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการในการจัดท�าแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในขณะที่ Mr. Dante Pesce สมาชิกคณะท�างานกล่าวว่าการที่นายกรัฐมนตรี
ของไทยได้แสดงเจตจ�านงทางการเมือง (political will) ว่าจะสนับสนุนให้มีการท�าแผนปฏิบัติการฯ ในประเทศไทย และ
เป็นประจักษ์พยานในการลงนามปฏิญญาร่วมกันระหว่าง กสม. และหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อน
หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย จะท�าให้เห็นแนวทางในการท�างานเพื่อจัดท�า
แผนปฏิบัติการฯ มีความชัดเจนและสอดประสานกันได้ดียิ่งขึ้น
๕.๕.๔ การพบหารือกับอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศเยอรมนี และคณะผู้แทน
จากมูลนิธิฟรีดริช เนามัน
เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ ประธาน กสม. และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องได้ร่วม
หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับ Mr. Markus Loening อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมนี และคณะผู้แทนจากมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ในประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน บทบาท และหน้าที่ในการ
ด�าเนินงานของ กสม. โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องอ�านาจหน้าที่ในการต่อสู้คดีของ กสม. ในเรื่องสิทธิมนุษยชน การรับเรื่อง
ร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาของ กสม. เกี่ยวกับการแสดงออกและการชุมนุมในช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ท�าการยึดอ�านาจและการท�างานร่วมกับผู้เสียหายจากการถูกละเมิด ความพยายามในการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง
กฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และการผลักดันให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมีการใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการท�างานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
๕.๕.๕ การเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระหว่างเครือข่ายของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับกลไกสิทธิมนุษยชนของยุโรป
(๑) กิจกรรมจัดขึ้นโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ (Commission on Human
Rights of the Philippines : CHRP) กับมูลนิธิ Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) ของประเทศ
เยอรมนี ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง
เครือข่ายการประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็น
สมาชิกอาเซียน (ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา) กับกลไกทางด้านสิทธิมนุษยชนของยุโรป
(๒) ผู้เข้าร่วมในส่วนของกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ (South East Asia National Human Rights Institutions หรือ SEANF) ประกอบด้วย ประธานสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ในฐานะประธานคนปัจจุบันของ SEANF ประธาน กสม. ของไทย มาเลเซีย และ
อินโดนีเซีย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเมียนมาและไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
154 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐