Page 156 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 156
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๓) กิจกรรมระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ได้แก่ การเข้าเยี่ยมเพื่อรับฟังค�าบรรยายและการ
ประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค และแนวทางความร่วมมือระหว่าง
SEANF กับผู้แทนกลไกสิทธิมนุษยชนของยุโรป ซึ่งได้แก่ คณะมนตรีแห่งยุโรป (The Council of Europe) ผู้แทนฝ่ายต่าง
ประเทศ (European External Action Service - EEAS) ฝ่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (Development Cooperation)
และการค้า (Trade) ของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และรัฐสภายุโรป (European Parliament)
ซึ่งนอกจากคณะผู้แทนของ SEANF จะได้รับทราบกลไกและวิธีการด�าเนินงานของหน่วยงานเหล่านี้แล้ว ยังได้รับทราบข้อ
ห่วงกังวลของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งส�าหรับประเทศไทย ได้แก่ บทที่ ๒
ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ สถานการณ์การค้ามนุษย์ การด�าเนินคดีผู้กระท�าผิด
ตามมาตรา ๑๑๒ และประเด็นเรื่องแรงงานข้ามชาติ
(๔) นอกจากนี้ ผู้แทน SEANF ยังได้มีโอกาสเข้าพบและประชุมหารือกับ Mr. Stavros Lambrinidis
ผู้แทนพิเศษของสหภาพยุโรปด้านสิทธิมนุษยชน (EU Special Representative for Human Rights) เพื่อรับทราบ
แนวนโยบายของ EU ที่เน้นการด�าเนินงานใน ๓ ประเด็นหลักซึ่งเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน
หลักนิติรัฐ และความเป็นประชาธิปไตย (Human Rights, Rule of Law and Democracy)
ในโอกาสนี้ ผู้แทน กสม. ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศไทยว่า รัฐบาลโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้
เน้นการยึดมั่นการด�าเนินงานตาม Roadmap เพื่อน�าไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปภายในปี ๒๕๖๑ ซึ่ง กสม. จะติดตามในเรื่องนี้
อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการใช้สิทธิของประชาชนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งได้แก่ สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการ
ชุมนุมโดยสงบ และสิทธิในการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ผู้แทน กสม. ยังได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่ง ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรีได้ให้ความส�าคัญในประเด็นภายใต้ ๓ เสาหลักของหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครอง
การเคารพ และการเยียวยา ซึ่งเป็นการก�าหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐ ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นศาลและมิใช่ศาล
ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการด�าเนินการเพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและป้องกันประชาชนจาก
การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการเยียวยาจากความเสียหายที่ได้รับผลกระทบ
(๕) ในช่วงการประชุมในประเด็นเรื่องบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับประเด็นธุรกิจกับ
สิทธิมนุษยชนกับผู้แทนจาก Business and Human Rights Center ผู้แทน กสม. ได้มีโอกาสน�าเสนอผลการด�าเนินงาน
ของ กสม. ในการจัดการสัมมนาวิชาการเรื่อง การขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ ๓๑
พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยเฉพาะการกล่าวถ้อยแถลงของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ซึ่งได้เน้นแนวคิดในประเด็นเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่มีความส�าคัญส�าหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว
การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่สามารถท�าให้การพัฒนามีความยั่งยืนได้ แต่ต้องสามารถท�าให้
ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีความเคารพในสิทธิมนุษยชนจึงเป็นปัจจัยส�าคัญที่
จะท�าให้แน่ใจว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
นอกจากนี้ ทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังได้แสดงความชื่นชมความส�าเร็จของการจัดงานสัมมนาเมื่อ
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ของ กสม. ที่ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในการกล่าวปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ
“หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม” รวมทั้ง
ยังได้มีการลงนามปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะฯ ในประเทศไทยระหว่างหน่วยงานของรัฐ กสม. และ
ภาคธุรกิจ ซึ่งเปรียบเสมือนการแสดงความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะผลักดันให้มีการน�าหลักการชี้แนะดังกล่าวมาปฏิบัติตามให้
เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 155