Page 154 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 154
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
ของ กสม. โดยเฉพาะการเชิญนายกรัฐมนตรีของไทยมาเป็นประธานเพื่อกล่าวปาฐกถาพิเศษและเป็นสักขีพยานในการ
ลงนามปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
๕.๕ ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ
๕.๕.๑ การพบหารือกับผู้แทนส�านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(OHCHR) บทที่ ๒
เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ Ms. Cynthia Veliko ผู้แทนส�านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ (OHCHR) ประจ�าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าพบประธาน กสม. พร้อมด้วย กสม. และผู้แทน
ส�านักงาน กสม. ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะน�าตัวในโอกาสเข้ารับต�าแหน่ง รวมทั้งเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือในการท�างาน
ระหว่าง กสม. กับ ส�านักงาน OHCHR แนวทางในการเตรียมการประเมินสถานะของ กสม. ใน GANHRI และความ
คืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ....
๕.๕.๒ การพบหารือกับผู้เสนอรายงานพิเศษ
ของสหประชาชาติ (UN Special Rapporteur)
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐
นายชาติชาย สุทธิกลม และนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้พบหารือกับ Mr. Michel Forst
ผู้เสนอรายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์
ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Special Rapporteur on the
situation of human rights defenders) ที่ส�านักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยการพบหารือมีวัตถุประสงค์ส�าคัญ
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในการหารือดังกล่าวได้มี
การหยิบยกเรื่องบทบาทของ กสม. ที่เกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดย กสม. พบว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งชาย
และหญิงทั้งที่รวมตัวเป็นกลุ่มหรือปัจเจกมักถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการด�าเนินโครงการพัฒนา
เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลดังกล่าวทั้งสิ้น รวมถึงการที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมักถูกบริษัทเอกชนหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องร้องด�าเนินคดี อันเป็นผลจากการที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องคดีเพื่อปิดปาก
(Anti Strategic Lawsuits against Public Participation Law) และปัญหาการที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกบังคับให้
สูญหายแต่มักไม่มีการลงโทษผู้กระท�าความผิดตามกฎหมายหรือปล่อยให้ลอยนวล (Impunity) ทั้งนี้ ผู้เสนอรายงานพิเศษ
ได้เน้นย�้าถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ กสม. เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ในประเทศไทยต่อไป
๕.๕.๓ การเชิญสมาชิกคณะท�างานของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมงาน
สัมมนาวิชาการ
กสม. ได้เชิญ Mr. Michael Addo ประธานคณะท�างานของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับ สิทธิมนุษยชน
(UN Working Group on Business and Human Rights) และ Mr. Dante Pesce สมาชิกคณะท�างานฯ เข้าร่วมการ
สัมมนาวิชาการเรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 153