Page 128 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 128
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. ภิกษุณีธัมมนันทา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาของผู้หญิง
๒. นางสาวแวววรินทร์ บัวเงิน ตัวแทนกลุ่มรักษ์บ้านแหง จังหวัดล�าปาง ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ด้านสิ่งแวดล้อม ปกป้องชุมชนจากผลกระทบในการท�าเหมืองแร่
๓. นางรอกีเย๊าะ สะมะแอ ตัวแทนกลุ่มสตรีเครือข่ายฅนรักษ์เมืองเทพา จังหวัดสงขลา ผู้หญิงนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชนด้านพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
๔. นางสาวพนา เจริญสุข ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ก้าวผ่านการถูกละเมิดสิทธิมาเป็นนักปกป้อง
สิทธิจากความรุนแรง บทที่ ๒
๕. คุณเจษฏา แต้สมบัติ ตัวแทนเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน องค์กรที่ท�างานปกป้องสิทธิมนุษยชน
ของกะเทย/คนข้ามเพศ (Transgender)
๖. นางสาวคะติมะ หลีจ๊ะ ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ และเพื่อที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ท�ากิน
๗. นางนงนุช นบนอม ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จังหวัดกระบี่ ผู้หญิงนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชนด้านพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
๘. นางสาวณัฐพร อาจหาญ หญิงสาวลูกอีสาน นักปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ในการจัดงานเนื่องในวันสตรีสากล ๖ มีนาคม ๒๕๖๐ มีการอภิปราย เรื่อง “ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน: การ
ขับเคลื่อนเพื่อความยุติธรรมในสังคม” และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกทั้งมีการมอบเกียรติบัตรและให้ผู้ที่ได้รับรางวัล
น�าเสนอประสบการณ์ในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ได้พูดถึงแรงบันดาลใจที่ตนเองได้
ก้าวข้ามความกลัวในจิตใจของตนเอง เข้ามาสู่การปกป้องสิทธิของตนเอง สิทธิครอบครัว สิทธิชุมชน เพื่อสร้างความ
เป็นธรรมและความเสมอภาคให้เกิดขึ้น กลไกของรัฐควรจะสนับสนุนศักยภาพทางจิตใจและศักยภาพของเครือข่ายสตรี
และผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสภาพด้วย จึงอยากจะให้ทุกคนได้ท�าหน้าส่งเสริมคุ้มครองปกป้องสิทธิสตรี สิทธิของ
ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพศสภาพ เพศวิถี เพื่อให้มีพื้นที่ในสังคม มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียม และร่วมกัน
สร้างสังคมที่มีสันติภาพ เป็นธรรมและมีความเสมอภาครัฐต้องไปให้ถึงการยุติการฟ้องร้องกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อ
ให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหยุดพูด หรือหยุดการเคลื่อนไหวในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ แต่ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนมี
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตนเองหรือชุมชน ในกรณีที่
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกข่มขู่คุกคาม สังหารหรือการถูกด�าเนินคดี รัฐต้องให้ความส�าคัญในการสอบสวน ต้องเข้าร่วม
การสังเกตการณ์ในคดี และพยายามทุกวิถีทางให้น�าผู้ที่กระท�าความผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
๒.๓.๑๓ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างสมรรถนะผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้
โครงการจัดท�าข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง
มุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๖ – ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี การประชุม
เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างสมรรถนะผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมภายใต้บริบทของความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อผู้หญิงมุสลิมในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างความเข้าใจ
ในหลักการที่แท้จริงของศาสนาอิสลามที่ยอมรับความเสมอภาคระหว่างเพศ บทบาท และสิทธิของผู้หญิง ซึ่งสอดคล้อง
กับอนุสัญญา CEDAW รวมถึงการระดมความคิดเห็นในการพัฒนาแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 127