Page 127 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 127

ข้อเสนอแนะ


                      ให้นายทะเบียนอ�าเภอต่าง ๆ ในจังหวัดสระแก้ว รับรู้และยอมรับการตรวจพิสูจน์เกี่ยวกับสารพันธุกรรม
           (DNA) ยึดถือการสอบปากค�าเป็นหลักในการก�าหนดสถานะบุคคลส�าหรับบุคคลสัญชาติไทยที่มีจุดเกาะเกี่ยว ซึ่งเป็นไป

           ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่สนับสนุนให้มีการตรวจ DNA รวมถึงประเด็นการจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคล
           สัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าว ตามหลักการสิทธิมนุษยชนว่าด้วยสิทธิการก่อตั้งครอบครัว นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องกันใน
           เรื่องการส�ารวจตรวจสอบบุคคลในหมู่บ้าน ต�าบล ให้ชัดเจนอย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา โดยด�าเนินการแบบธรรมชาติ
           เพื่อป้องกันการแอบอ้าง มีก�านัน ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการชุมชนที่รับผิดชอบจัดท�าข้อมูลบุคคล และขับเคลื่อนให้มี

           การก�าหนดสถานะบุคคลต่อไป ในส่วนของกรณีที่มีพบโดยทั่วไปว่า บุคลากรด้านทะเบียนที่มีจ�านวนน้อยนั้น เป็นปัญหา
           ในหลาย ๆ ส�านักทะเบียน หากจะให้ภารกิจที่ร่วมกันขับเคลื่อน ควรจะมีการสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเข้า
           มาร่วมปฏิบัติงาน จึงเสนอเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหา ดังนี้



                      ๑. ให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (หยิบยก) กรณีดังกล่าว โดยไม่ต้องมี ผู้ร้องเรียน เนื่องจาก
           ได้มีการพบข้อมูลที่เพียงพอ ที่จะน�าไปสู่การตรวจสอบ และผลักดันให้มีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ
           บุคคลสัญชาติไทย และบุคคลที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับบุคคลสัญชาติไทย



                      ๒. ให้มีกิจกรรม/โครงการที่สนับสนุนกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อน�าไปสู่การพิสูจน์สิทธิที่เกี่ยว
           กับการก�าหนดสถานะบุคคลในลักษณะต่าง ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน
           เพราะมีทั้งกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่รอคอยการก�าหนดสถานะบุคคลอีกมากมาย เนื่องจากในอดีตไม่ได้
           ด�าเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ท�าให้ขาดโอกาส



                      ๓. เห็นควรมีข้อเสนอแนะและผลักดันให้กระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาด�าเนิน
           การต่อการก�าหนดสถานะบุคคลในลักษณะต่าง ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ
           ชุมชนอย่างมีประสิทธิผล ต่อเนื่อง



                   ๒.๓.๑๒ โครงการจัดงาน การเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๐
           ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร



                          เนื่องในวันที่ ๘ มีนาคมของทุกปี ก�าหนดให้เป็นวันสตรีสากล เพื่อเป็นการยกย่องและให้ความส�าคัญ
           กับบทบาทสตรีที่เพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกลุ่มสตรีในทุกทวีป มีเชื้อชาติ ศาสนา ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
           จะมาร่วมตัวกัน เพื่อระลึกถึงการต่อสู้ของสตรีที่มีมาอย่างยาวนานของสตรี และร่วมกันผลักดันเพื่อให้เกิดความเสมอภาค
           ความยุติธรรม ความมีสันติภาพ และการพัฒนาบทบาทของสตรีที่มากขึ้น



                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน


                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดงานเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติของสตรีที่อุทิศตนเพื่อปกป้อง

           สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย โดยมีการคัดเลือกสตรีผู้ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีผู้ที่ได้รับการประกาศเชิดชู
           เกียรติทั้งหมด จ�านวน ๘ ท่าน คือ





            126 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132