Page 126 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 126
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.๓.๑๑ โครงการสัมมนา เรื่อง กรณีคนไทยตกหล่นทางทะเบียนราษฎร อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานใน
พื้นที่ภาคตะวันออก
จากกรณีที่พบว่า ยังมีคนไทยตกหล่นทางทะเบียนราษฎรในหลายพื้นที่ จึงได้จัดให้มีการประชุมที่
จังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ อ�าเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อตรวจสอบ
ข้อเท็จจริง รับฟังสภาพปัญหา ผลกระทบ ท�าความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย การลงรายการสัญชาติไทยของบุคคลสัญชาติไทย
ที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการประสานการคุ้มครองและส่งเสริมด้าน
สิทธิมนุษยชน รวมถึงก�าหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ กสม. พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ บทที่ ๒
โดยมุ่งการท�างานร่วมกับเครือข่าย เพื่อให้เกิดการสร้างพลังในการท�างานร่วมกัน รวมถึงพัฒนาการด�าเนินงานและจัดให้
มีแผนการท�างานร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน ในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน และหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ กรณี “กลุ่มบุตรของบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ ซึ่งบิดา และ / หรือ
มารดาไม่มีเอกสารแสดงตนและเสียชีวิต” ถือว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยตกหล่น อาศัยอยู่ตามแนวเขตจังหวัดสระแก้ว ติดต่อ
อาณาเขตประเทศกัมพูชา แต่ภาวะสงครามภายในประเทศกัมพูชาในอดีต ท�าให้ต้องถอยกลับมาประเทศไทยโดยที่ไม่มี
การส�ารวจจ�านวนบุคคล ประกอบกับช่วงเวลานั้น ก็ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลประชากรในระบบของทะเบียนราษฎรของไทยที่
ถูกต้องและครบถ้วน โดยบุคลากรทางทะเบียนของอ�าเภออรัญประเทศไม่สามารถรับค�าร้องขอเพิ่มชื่อของผู้ประสบปัญหาได้
เนื่องจากไม่มีเอกสาร หรือความเชื่อใด ที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลว่า เป็นพี่น้องที่มีบิดา มารดาเป็นคน
เดียวกัน ซึ่งเป็นได้แค่เพียงพยานบอกเล่าเท่านั้น แต่ไม่มีเอกสารหลักฐานในการยืนยันในการพิสูจน์ตัวบุคคล แม้ว่าจะมี
ก�านัน ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านที่รู้เห็นว่า มีภูมิล�าเนาอยู่ที่ต�าบล/อ�าเภอนี้ มานานกว่าประมาณ ๔๐ ปี อีกทั้งยังมีครอบครัว
รวมถึงบุตรหลานอาศัยอยู่ในพื้นที่ตลอดมาอีกด้วย
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
เนื่องจากพื้นที่อ�าเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ติดกับอาณาเขตของประเทศกัมพูชา ซึ่งอดีตเคยมี
เหตุการณ์สู้รบภายในประเทศกัมพูชาท�าให้มีพี่น้องประชาชนหลบหนีภัยสงครามเข้ามาในอ�าเภออรัญประเทศ และปี
๒๕๓๕ ได้มีการส�ารวจจ�านวนบุคคลไว้ แต่ไม่ได้ท�าทะเบียนสถานะบุคคล จึงเป็นเหตุให้มีบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ในขณะนี้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการก�าหนดให้มีการพิสูจน์ความเป็นคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียน (พิสูจน์ความเป็นคนไทย) ควร
ที่จะก�าหนดให้มีการด�าเนินการหรือได้มีการหารือปัญหาไปยังกรมการปกครองเพื่อก�าหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและ
ข้อเสนอแนะ ดังนี้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
๑. ควรด�าเนินการส�ารวจ ตรวจสอบบุคคลในหมู่บ้าน ต�าบล ให้ชัดเจนอย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา (ด�าเนิน
การแบบธรรมชาติเพื่อป้องกันการแอบอ้าง) โดยให้ก�านันและผู้ใหญ่บ้านที่รับผิดชอบจัดท�าข้อมูลบุคคล และขับเคลื่อนให้
มีการก�าหนดสถานะบุคคลต่อไป
๒. การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการของนายทะเบียนอ�าเภอ จะมีแนวทาง
ส�าหรับพิจารณาด�าเนินอย่างไรต่อไป หรือไม่ และรวมถึงในกรณีศึกษาว่าเป็นลูกไทย ที่มีจุดเกาะเกี่ยวอย่างไร กับใครหรือ
ไม่ ตามที่มีข้อเสนอและข้อกังวลไว้
๓. ส่วนปัญหาที่มีเจ้าหน้าที่ฯ ด้านทะเบียนจ�านวนน้อยนั้น เป็นปัญหาในระดับพื้นที่ของการปฏิบัติงานใน
หลาย ๆ แห่ง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 125