Page 111 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 111

ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน


                   การจัดงานสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่และขับเคลื่อน “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ
           สหประชาชาติในประเทศไทย (UN Guiding Principles on Business and Human Rights)” ได้รับความสนใจจาก

           ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จ�านวน ๖๑๐ คน ประกอบด้วย
           ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการก�ากับดูแลการประกอบการของภาคเอกชน องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ
           ผู้ประกอบการเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการในประเทศ และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น
           คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

           และผู้แทนคณะทูตต่างประเทศในประเทศไทย ตลอดจนสื่อมวลชน การสัมมนาครั้งนี้นอกจากท�าให้ผู้ประกอบการของ
           ไทยได้ทราบและตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ รวมถึง
           ความส�าคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะแสดงให้นานาประเทศ
           เห็นว่ารัฐบาลไทยมีนโยบายให้ความส�าคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในทุกมิติ รวมถึงการประกอบธุรกิจ

           เอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็น
           ความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในการด�าเนินการตามข้อเสนอแนะจากการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
           ตามกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ประเทศไทยได้
           แถลงให้การยอมรับเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน

           หลักการชี้แนะฯ ไปสู่การปฏิบัติ


                   ภายหลังการจัดงานสัมมนาฯ หลายภาคส่วนได้ให้ความส�าคัญกับงานสัมมนาดังกล่าว มีการประชาสัมพันธ์และ
           เผยแพร่ข้อมูลในหลายช่องทาง ดังนี้



                   (๑)  หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ของหน่วยงาน ได้แก่ เว็บไซต์ของรัฐบาลไทย กระทรวง
           การต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และส�านักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โดย
           นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงงานสัมมนาและประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

                   (๒)  ภาคธุรกิจได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ของหน่วยงาน อาทิ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน
           (กกร.) ธนาคารกรุงไทย CP E-News และทาง Facebook ของเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย เป็นต้น
                   (๓)  ภาคประชาสังคม โดย Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) ได้กล่าวถึง
           งานสัมมนาและข้อกังวลในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนผ่านทางเว็บไซต์ โดยผู้อ�านวยการรณรงค์แม่น�้านานาชาติไทยและ

           เมียนมา ได้หยิบยกเรื่องหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเขียนบทความเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์
           บางกอกโพสต์ด้วย
                   (๔)  สื่อมวลชนที่ได้เผยแพร่ข้อมูล เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เว็บไซต์ของส�านักข่าวต่าง ๆ ได้แก่ TNN 24 ประชาไท
           มติชน ผู้จัดการ ประชาชาติธุรกิจ ส�านักข่าวไทย สมาคมผู้สื่อข่าวไทย - จีน และโพสต์ทูเดย์ เป็นต้น

                   (๕)  ส�านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) ประจ�าภูมิภาคเอเชียตะวันออก
           เฉียงใต้ และ UNDP Asia Pacific ได้เผยแพร่งานสัมมนาดังกล่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (social media) ของหน่วยงาน
           และสถานทูตรัสเซียได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสถานทูตเช่นเดียวกัน
                   (๖)  ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : มุ่งไปข้างหน้าด้วยแผนปฏิบัติ

           การในประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ ๑ – ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ Mr. Michael Addo ประธาน
           คณะท�างานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้แสดงความชื่นชมพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี





            110 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116