Page 112 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 112
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
ที่เน้นย�้าถึงการปฏิบัติในการกล่าวปาฐกถางานสัมมนา เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการแสดงเจตจ�านงที่ชัดเจน
และมุ่งมั่น นอกจากนี้ ประเทศไทยจะเป็นกรณีตัวอย่างของการมุ่งมั่นขับเคลื่อนหลักการชี้แนะฯ ไปสู่การปฏิบัติและจะ
ให้ทุกภาคส่วนของประเทศไทยน�าเสนอความก้าวหน้าในการด�าเนินการจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านธุรกิจกับ
สิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP) ในการประชุม Business and Human
Rights Forum ครั้งที่ ๖ อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
(๗) นอกจากนี้ Mr. Michael Addo ประธานคณะท�างานธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้เข้าพบ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของไทย โดย Mr. Michael Addo ได้แสดงความยินดีกับประเทศไทยในเรื่องที่ก�าลังด�าเนินการ บทที่ ๒
จัดท�าแผนปฏิบัติการ (National Action Plan: NAP) และมีความมุ่งมั่นในการด�าเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็น
ตัวแบบการปฏิบัติที่ดี (Good Practices) ในการถอดบทเรียนการน�าหลักการชี้แนะฯ ไปสู่การปฏิบัติ การจัดสัมมนาวิชา
การฯ เพื่อเผยแพร่และขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย เมื่อวันที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ท�าให้เกิดกระแสความตื่นตัวในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ของภาคส่วนต่าง ๆ สร้างความ
สนใจและการรับรู้ของสังคมได้แพร่หลายยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ในระหว่างปี ๒๕๖๐ กสม. โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กับธุรกิจ
โรงแรมเครือข่ายอันดามันและภาคใต้ ๘ โรงแรม ซึ่งในโอกาสนี้ กสม. ได้น�า Human Right Due Diligence
(HRDD) ไปเผยแพร่เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมได้น�าไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปด้วย นอกจากนั้น
ยังได้จัดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของ
สหประชาชาติในประเทศไทยต่อภาคประชาสังคม” เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยเป็นการเผยแพร่ความรู้
ความเข้าใจต่อหลักการชี้แนะฯ และได้รับฟังความเห็นจากภาคประชาสังคมใน ๕ ประเด็น ประกอบด้วย (๑) ภาครัฐ
ควรท�าอย่างไรเพื่อคุ้มครองไม่ให้ภาคธุรกิจมาละเมิดสิทธิมนุษยชน (๒) ภาคธุรกิจจะมีกลไกอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบกิจการ (๓) ภาครัฐควรมี “กลไก” หรือ “กระบวนการ/มาตรการ/แนวปฏิบัติ”
อย่างไรที่จะท�าให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยธุรกิจได้รับการเยียวยาความเสียหายได้อย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้ (๔) ภาคธุรกิจควรมี “กลไก” หรือ “กระบวนการ/มาตรการ/แนวปฏิบัติ” อย่างไรที่
จะท�าให้ผู้ได้รับความเสียหายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ (๕) ความเห็น/ข้อเสนอแนะต่อการจัดท�าแผน
ปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP)
(๘) ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมี
หนังสือที่ นร.๐๔๐๓ (กน)/๑๐๐๑๗ ลงวันที่ ๑๕
กันยายน ๒๕๖๐ แจ้งให้ กสม. ทราบว่านายก
รัฐมนตรี “มีบัญชาให้คณะกรรมการนโยบาย
และก�ากับดูแลรัฐวิสาหกิจทราบเพื่อขับเคลื่อน
ให้เข้าใจหลักการ/วิธีปฏิบัติให้สอดคล้องสร้าง
การรับรู้ในประเทศ/ต่างประเทศ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 111