Page 59 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 59
๑.๕ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International
Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๖ โดยท�าค�าแถลงตีความ ๑ ข้อ
เกี่ยวกับการบังคับใช้ภายในประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาหลัก
ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และได้ท�าข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ ได้แก่ ข้อ ๔ เรื่องการด�าเนินมาตรการขจัด
การเลือกปฏิบัติเท่าที่จ�าเป็น และข้อ ๒๒ ในเรื่องการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เนื้อหามีทั้งหมด ๒๕ ข้อบท แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนที่หนึ่ง (ข้อบทที่ ๑ - ๗) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ โดยก�าหนดความหมายของการเลือกปฏิบัติ
ทางเชื้อชาติ การตีความและมาตรการพิเศษที่จัดขึ้นตามความจ�าเป็นด้วยเจตนาเพื่อประกันความก้าวหน้าของ
หมู่ชนบางกลุ่มที่ต้องการความคุ้มครองและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
และการประกันการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล กลุ่มหรือสถาบัน หรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ การด�าเนิน
มาตรการที่จะแก้ไขกฎระเบียบที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสม และสนับสนุนการประสาน
เชื้อชาติเข้าด้วยกัน การจัดให้มีมาตรการพิเศษชั่วคราวเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เพื่อให้ได้
รับสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาค การประณามการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องความ
เหนือกว่าของบางกลุ่มชน การเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ การลงโทษตามกฎหมายแก่การกระท�าที่ประณามเหล่านี้
และห้ามการด�าเนินการส่งเสริมกระตุ้นการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การประกันสิทธิของทุกคนให้เสมอ
ภาคกันตามกฎหมายภายใต้ศาลและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองของรัฐ การใช้สิทธิอย่างทั่วถึงและเสมอ
ภาคในทางการเมือง กิจกรรมและบริการสาธารณะ สิทธิพลเมืองในเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่อง อาทิ การมีถิ่นพ�านัก
การถือครองสัญชาติ การสมรสและเลือกคู่สมรส การรับมรดก สิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็น การนับถือศาสนา
การชุมนุม สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านการท�างาน ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข
การศึกษา กิจกรรมทางวัฒนธรรม และบริการต่าง ๆ และการประกันสิทธิของรัฐที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนใน
อาณาเขตจากการเลือกปฏิบัติเหล่านี้รวมถึงสิทธิที่จะร้องขอค่าทดแทนจากศาลเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเป็น
ผลจากการเลือกปฏิบัติเหล่านี้
ส่วนที่สอง (ข้อบทที่ ๘ - ๑๖) ว่าด้วยคณะกรรมการ การเสนอรายงาน การรับข้อร้องเรียนระหว่างรัฐ
การด�าเนินการ การไกล่เกลี่ยและการยุติข้อพิพาทของคณะกรรมการ
ส่วนที่สาม (ข้อบทที่ ๑๗ - ๒๕) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ เงื่อนไขในการตั้งและ
ถอนข้อสงวน การเพิกถอนอนุสัญญา และการเสนอข้อพิพาทสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
58 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐