Page 61 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 61

การเข้าถึงข้อมูล การมีมาตรฐานชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี การมีส่วนร่วมทางการเมือง และทางวัฒนธรรม สันทนาการ
              และการกีฬา การจัดเก็บสถิติและข้อมูลความร่วมมือระหว่างประเทศ การปรับใช้อนุสัญญาฯ ภายในประเทศ
              การติดตามและตรวจสอบ และการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศ



                    ส่วนที่สอง (ข้อ ๓๔ - ๕๐) การท�าหน้าที่และองค์ประกอบของคณะกรรมการ CRPD การเข้าเป็นภาคี
              อนุสัญญาฯ การเสนอรายงาน ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการฯ กับหน่วยงานอื่น ๆ การระงับข้อพิพาท ฯลฯ





                ต่อมา ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CRPD (Optional Protocol to
           the CRPD : OP- CRPD) โดยให้สัตยาบันเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๙ และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่
           ๒ ตุลาคม ๒๕๕๙



                    โดยแสดงการยอมรับของประเทศไทย ต่อการท�าหน้าที่ของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ในการรับ
              และพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล
              กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้
                    ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่า เรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้ด�าเนินการโดยกระบวนการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน

              ในประเทศจนหมดสิ้นแล้ว หรือมีเหตุผลว่ากลไกในประเทศ ด�าเนินการล่าช้ากว่าปกติ หรือมิได้ให้ความเป็นธรรม
              ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (exhaustion of domestic remedies) นอกจากนั้น ยังต้องแจ้งให้รัฐบาล
              ของประเทศนั้น ๆ ได้ทราบและรับรู้ก่อนด้วย





                ในส่วนของสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน อีก ๒ ฉบับ ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าเป็นภาคีคือ อนุสัญญา
           ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the
           Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CPED) โดยได้ลงนาม เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ และ

           คณะรัฐมนตรีมีมติ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว พร้อมกับมีการจัดท�า
           ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ....  โดยปัจจุบันอยู่ระหว่าง
                                                                                        ๑๑
           การด�าเนินการตามกระบวนการให้สัตยาบันกับองค์การสหประชาชาติ และการน�าเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตาม
           ขั้นตอนนิติบัญญัติ ซึ่งแม้ว่าอนุสัญญาฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลต้องไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นการ

           ขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (objects and purposes) ของอนุสัญญาดังกล่าว ในส่วนของอนุสัญญาระหว่างประเทศ
           ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection
           of the Rights of Migrants and Members of their Families : ICRMW) ประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็นภาคีแต่อย่างใด









           ๑๑  ผลสืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CAT เมื่อปี ๒๕๕๐ และการลงนามต่ออนุสัญญา CPED ในปี ๒๕๕๔ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ซึ่งต่อมารัฐบาล (โดยกระทรวง
             ยุติธรรม) ได้จัดท�า (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ซึ่งมีหลักการส�าคัญ คือ การก�าหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการกระท�าความผิด
             ในการทรมานผู้ถูกจับกุม หรือการอุ้มให้สูญหาย ไม่ว่าจะโดยการกระท�าของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ โดยหากพิสูจน์ได้ว่ามาจากความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ถือว่าการกระท�านั้นผิดกฎหมาย
             ทั้งนี้ ครอบคลุมถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน สงคราม สถานการณ์ความไม่มั่นคง โดยมีการก�าหนดระยะของอายุความไว้ ๒๐ ปี และมีการตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และ
             การบังคับบุคคลให้สูญหาย เพื่อก�าหนดมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยประกันสิทธิแก่ผู้ถูกจับกุมในการติดต่อกับญาติ ทนายความ หรือผู้ที่
             บุคคลนั้นๆ ไว้วางใจ สิทธิในการแจ้งให้บุคคลอื่นได้ทราบถึงสภาพการคุมขัง และห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐส่งตัวบุคคลใด ๆ ออกนอกราชอาณาจักร หากเชื่อว่า จะก่อให้เกิดการทรมาน หรือ
             ถูกบังคับให้สูญหาย.


           60 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66